MJU RADIO FM 95.50 MHz
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : วิทยุบริการสาธารณะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร อว.ส่วนหน้า จังหวัดชุมพร ให้การต้อนรับนางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขารมว. อว. และคณะ ในการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดชุมพร
วันที่ 20 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อว.ส่วนหน้า จังหวัดชุมพร โดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี คณะผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ให้การต้อนรับนางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ นายเมธี ลิมนิยกุล ผู้อำนวยการกลุ่มประสานเครือข่าย อว. ในภูมิภาค (กปว.) และคณะ ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชุมพร ณ ศาลาธรรมวัดท่าสุธาราม บ้านท่า หมู่ที่ 2 ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร โดยมีนายสมเจตร์ เจริญทรง นายอำเภอทุ่งตะโก รายงานภาพรวมความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ในการนี้ สาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ ได้มอบส่งของบริจาค (เครื่องอุปโภคและบริโภค) ให้กับผู้ประสบอุทกภัย พบปะให้กำลังใจในการพื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด และลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 1 ราย นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากพร้อมกันนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ลงพื้นที่ติดตั้งเครื่องกรองน้ำชุมชน เพื่อดูแลระบบน้ำดื่มสะอาดปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ด้วยอย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในฐานะ อว.ส่วนหน้าจังหวัดชุมพร ได้ลงพื้นที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักศึกษาในพื้นที่ ในการติดตามผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย พร้อมกับรายงานไปยังกระทรวง อว. จนนำไปสู่การช่วยเหลือฟื้นฟูต่อไปข่าว : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
20 ธันวาคม 2567     |      13
พิธิปิดโครงการ "Agriculture Sustainability and Culture Exchage" นักศึกษาแลกเปลี่ยนต่างประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เป็นประธานในพิธีปิดพร้อมทั้งมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ "Agriculture Sustainability and Culture Exchage" โดยวิทยาลัยนานาชาติได้ลงนามความร่วมมือกับ International Sustainable Development Studies Institute (ISDSI) เพื่อเป็นการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่างประเทศเข้าร่วมเรียนและศึกษาข้ามวัฒนธรรม รวมถึงการเรียนรู้เส้นทางท่องเที่ยว จำนวน 41 คน โดยในพิธี มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ TOURISM: CHALLENGES IN SUSTAINING IDENTITY AND RURAL REGENERATION โดย Professor Dr.Levita A. Duhaylungsod จากSchool of Environmental Science and Management, University of the Philippines Los Baños ณ ห้องสโลป PT 106  ชั้น1 อาคารพืชศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผลิตกรรมการเกษตร
19 ธันวาคม 2567     |      58
พิธีเปิดงานประชุมงานประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2567 “การเกษตรสุขอัจฉริยะ” Intelligent Well-being Agriculture (IWA) ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2567 “การเกษตรสุขอัจฉริยะ” การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี (Intelligent Well-being Agriculture (IWA)) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งภายในงานมีเสวนาทางวิชาการ และนำเสนอผลงานทางวิชาการ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้#เสวนาทางวิชาการ เรื่อง “เมืองสุขภาพดี ที่เป็นมิตรกับทุกคน”วิทยากรผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดีอาจารย์ ดร.ขนิษฐา วิศิษฏ์เจริญศูนย์ความเป็นเลิศด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (UDEx) มหาวิทยาลัยแม่โจ้วิทยากรและผู้ดำเนินรายการผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหมประธานเครือข่ายศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน ภูมิภาคเหนือ (UDC Northern)#การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ได้แก่ ผลงานวิจัยกลุ่ม...เกษตรอัจฉริยะและเกษตรอินทรีย์ความหลากหลายทางชีวภาพเทคโนโลยีการเกษตร
19 ธันวาคม 2567     |      67
ม.แม่โจ้ เปิดโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์แห่งแรกในมหาวิทยาลัยไทย พร้อมลงนาม MOU ร่วมกับภาคเอกชนพัฒนางานวิจัยสู่การพัฒนานวัตกรรมให้บัณฑิตด้านพลังงานทดแทน
วันนี้ (18 ธ.ค. 67) ดร.วัชรินทร์ บุญฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย และบรรยายพิเศษ “แผนพลังงานแห่งชาติ 2024 กับทิศทางการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทย” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงาน และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนบริษัททางด้านพลังงาน ผู้บริหารหัวหน้าส่วนงานจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นโรงงานต้นแบบแห่งแรกในสถานศึกษาและส่วนราชการ ซึ่งสามารถผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งงานทางการเกษตร การใช้งานตกแต่งสถานที่ และการใช้ประโยชย์ในชีวิตประจำวัน เช่น การนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาโรงเรือนผลิตพืช ช่วยประหยัดพื้นที่ ลดต้นทุนให้เกษตรกร และที่สำคัญคือเป็นสถานฝึกประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ปฏิบัติจริง พัฒนางานวิจัยของนักศึกษาในทุกระดับเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและความก้าวหน้าของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้น ยังเป็นแนวทางในการสร้างรายได้ระหว่างเรียนให้แก่นักศึกษาด้วยการรับผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ตามวัตถุประสงค์ และการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมด้านการติดตั้งและผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการสร้างราย พร้อมนำมาต่อยอดพัฒนาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ของโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้มีงบประมาณหมุนเวียนในการซ่อมบำรุงและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในลักษณะพี่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ ภายในงานได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด , บริษัทลานนาโซลาร์ เอ็นเนอร์จี จำกัด และ บริษัท เอสล่าร์ไทย วิศวกรรม จำกัด เพื่อร่วมสนับสนุนด้านวิชาการเป็นแหล่งฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพิ่มโอกาสในการได้งานทำของนักศึกษา รวมถึงการพัฒนาการวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ขยายผลจากงานวิจัยสู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสร้างโอกาสในการขยายผลของเทคโนโลยี วิจัยจากหิ้งสู่ห้าง นอกจากนั้น บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด ได้มอบเครื่อง Solar simulator เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย ให้แก่วิทยาลัยพลังงานทดแทน อีกด้วย สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่...ภาพ/ข่าว 18 ธันวาคม 2567
18 ธันวาคม 2567     |      51
วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับภาคเอกชน (บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด , บริษัท ลานนาโซลาร์ เอ็นเนอร์จี จำกัด , บริษัท เอสล่าร์ไทย วิศวกรรม จำกัด) เสริมทักษะนักศึกษาด้านพลังงาน
วันนี้ (18 ธ.ค. 67) ดร.วัชรินทร์ บุญฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย และบรรยายพิเศษ “แผนพลังงานแห่งชาติ 2024 กับทิศทางการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทย” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงาน และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนบริษัททางด้านพลังงาน ผู้บริหารหัวหน้าส่วนงานจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นโรงงานต้นแบบแห่งแรกในสถานศึกษาและส่วนราชการ ซึ่งสามารถผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งงานทางการเกษตร การใช้งานตกแต่งสถานที่ และการใช้ประโยชย์ในชีวิตประจำวัน เช่น การนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาโรงเรือนผลิตพืช ช่วยประหยัดพื้นที่ ลดต้นทุนให้เกษตรกร และที่สำคัญคือเป็นสถานฝึกประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ปฏิบัติจริง พัฒนางานวิจัยของนักศึกษาในทุกระดับเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและความก้าวหน้าของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้น ยังเป็นแนวทางในการสร้างรายได้ระหว่างเรียนให้แก่นักศึกษาด้วยการรับผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ตามวัตถุประสงค์ และการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมด้านการติดตั้งและผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการสร้างราย พร้อมนำมาต่อยอดพัฒนาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ของโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้มีงบประมาณหมุนเวียนในการซ่อมบำรุงและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในลักษณะพี่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ ภายในงานได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด , บริษัทลานนาโซลาร์ เอ็นเนอร์จี จำกัด และ บริษัท เอสล่าร์ไทย วิศวกรรม จำกัด เพื่อร่วมสนับสนุนด้านวิชาการเป็นแหล่งฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพิ่มโอกาสในการได้งานทำของนักศึกษา รวมถึงการพัฒนาการวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ขยายผลจากงานวิจัยสู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสร้างโอกาสในการขยายผลของเทคโนโลยี วิจัยจากหิ้งสู่ห้าง นอกจากนั้น บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด ได้มอบเครื่อง Solar simulator เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย ให้แก่วิทยาลัยพลังงานทดแทน อีกด้วย สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่.
18 ธันวาคม 2567     |      104
วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีเปิดโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในมหาวิทยาลัย "แห่งแรกของประเทศไทย
วันนี้ (18 ธ.ค. 67) ดร.วัชรินทร์ บุญฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย และบรรยายพิเศษ “แผนพลังงานแห่งชาติ 2024 กับทิศทางการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทย” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงาน และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนบริษัททางด้านพลังงาน ผู้บริหารหัวหน้าส่วนงานจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นโรงงานต้นแบบแห่งแรกในสถานศึกษาและส่วนราชการ ซึ่งสามารถผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งงานทางการเกษตร การใช้งานตกแต่งสถานที่ และการใช้ประโยชย์ในชีวิตประจำวัน เช่น การนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาโรงเรือนผลิตพืช ช่วยประหยัดพื้นที่ ลดต้นทุนให้เกษตรกร และที่สำคัญคือเป็นสถานฝึกประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ปฏิบัติจริง พัฒนางานวิจัยของนักศึกษาในทุกระดับเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและความก้าวหน้าของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้น ยังเป็นแนวทางในการสร้างรายได้ระหว่างเรียนให้แก่นักศึกษาด้วยการรับผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ตามวัตถุประสงค์ และการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมด้านการติดตั้งและผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการสร้างราย พร้อมนำมาต่อยอดพัฒนาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ของโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้มีงบประมาณหมุนเวียนในการซ่อมบำรุงและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในลักษณะพี่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ ภายในงานได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด , บริษัทลานนาโซลาร์ เอ็นเนอร์จี จำกัด และ บริษัท เอสล่าร์ไทย วิศวกรรม จำกัด เพื่อร่วมสนับสนุนด้านวิชาการเป็นแหล่งฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพิ่มโอกาสในการได้งานทำของนักศึกษา รวมถึงการพัฒนาการวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ขยายผลจากงานวิจัยสู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสร้างโอกาสในการขยายผลของเทคโนโลยี วิจัยจากหิ้งสู่ห้าง นอกจากนั้น บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด ได้มอบเครื่อง Solar simulator เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย ให้แก่วิทยาลัยพลังงานทดแทน อีกด้วย สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่.
18 ธันวาคม 2567     |      180
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมงานเฉลิมฉลอง 117 ปี วันชาติของราชอาณาจักรภูฏาน
วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมแสดงความยินดี H.E. Mr. Kinzang Dorji เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรภูฏาน ประจำประเทศไทย เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง 117 ปี วันชาติของราชอาณาจักรภูฏาน ณ โรงแรมชาเทรียม แกรนด์ กรุงเทพฯมหาวิทยาลัยแม่โจ้และราชอาณาจักรภูฏานมีความสัมพันธ์ทางด้านวิชาการที่แน่นแฟ้นมายาวนาน โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับ The Royal University of Bhutan และ Ministry of Agriculture and Livestock ที่เน้นกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการในหลายมิติ อาทิ ด้านทุนการศึกษา โครงการจัดฝึกอบรมพัฒนาวิชาชีพระยะสั้น ให้แก่บุคลากรของราชอาณาจักรภูฏาน รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งทรัพยากรบุคคลและองค์ความรู้ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 - 2565 ได้มีนักศึกษาต่างชาติชาวภูฏานที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลไทย สหภาพยุโรป และทุนส่วนตัว มาศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท ที่คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จำนวน 18 ราย
17 ธันวาคม 2567     |      40
Isabela State University (ISU) ประเทศฟิลิปปินส์ เยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในโอกาสเข้าหารือความร่วมมือด้านวิชาการ
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย ร่วมให้การต้อนรับ Dr. Anna Marie Medrano-Bahala และคณะจาก Department of Agribusiness and Agricultural Economics Isabela State University (ISU) ประเทศฟิลิปปินส์ ในโอกาสเดินทางเยือนมหาวิทยาลัยแม่โจ้หารือความร่วมมือด้านวิชาการ การวิจัย ความสากล วัฒนธรรมและศิลปะ ในสาขาเกษตรกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เทคโลโนยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) การพัฒนาและความยั่งยืน ณ ห้องประชุมสารภี ชั้น1 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้On Monday, December 16, 2024,Associate Professor Dr. Weerapon Thongma, the President of Maejo University, along with university administrators, warmly welcomed Dr. Anna Marie Medrano-Bahala and her team from the Department of Agribusiness and Agricultural Economics, Isabela State University (ISU), Philippines, on the occasion of their visit to Maejo University. The purpose of the visit was to discuss academic cooperation, research, internationalization, culture, and thearts in the fields of agriculture, engineering, information and communication technology (ICT), development, and sustainability. The meeting took place at the Saraphi Conference Room, 1st Floor, University Administration Building, Maejo University
17 ธันวาคม 2567     |      503
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ "SDGs กับการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย" ในงาน Power of One (Power of You) โลกเปลี่ยนที่ตัวคุณ
วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2567 ที่ศูนย์กีฬาทศมินทรบพิตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ "SDGs กับการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย" ในงาน Power of One (Power of You) โลกเปลี่ยนที่ตัวคุณ ซึ่งจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย“Power of One (Power of You)” โลกเปลี่ยนที่ตัวคุณ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 เป็นนิทรรศการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ที่จัดแสดงมาแล้วกว่า 10 ประเทศทั่วโลก และจัดแสดงเป็นครั้งแรกในภาคเหนือ ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคม
14 ธันวาคม 2567     |      76
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมเป็นเกียรติและกล่าวต้อนรับในพิธีเปิดงาน Power of One (Power of You) โลกเปลี่ยนที่ตัวคุณ โดยสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567 ที่ ศูนย์กีฬาทศมินทรบพิตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดี ร่วมเป็นเกียรติและกล่าวต้อนรับในพิธีเปิดงาน Power of One (Power of You) โลกเปลี่ยนที่ตัวคุณ และได้รับเกียรติจาก นายสุรพล เกียรติไชยากร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา , นายนักปราชญ์ ไชยานนท์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี , นายนวรัตน์ ชิโนมี นายกสมาคมสร้างคุณค่าแห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน , ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมสร้างคุณค่าแห่งประเทศไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งนี้การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงการมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ และนำเสนอแนวทางและแนวทางการพัฒนาตนเองเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณค่า
13 ธันวาคม 2567     |      88
ทั้งหมด 15 หน้า