MJU RADIO FM 95.50 MHz
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : วิทยุบริการสาธารณะ

 

                   

.

ข่าวกิจกรรม

มหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 “บทบาทคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ Net Zero 2065” ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่
การประชุมสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมระดมความคิดของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยจาก 148 แห่ง ทั่วประเทศ ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zeroผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University รวมถึงการปรับตัวสานกลยุทธ์ธุรกิจ สู่ Net  Zeroเพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้าและเงื่อนไขตลาดทุนโลก ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมทั้ง มอบนโยบายที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษ และร่วมเวทีเสวนา ในประเด็นที่น่าสนใจ  ได้แก่ -  เรื่อง“มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับการขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero”, ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิดGreen Universityการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  - เรื่อง “Climate Changeวิกฤตของโลก และทางออกของเรา” ความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤติโลกร้อน ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมที่จะนำพาโลกสู่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการมุ่งสู่Net Zeroโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ (UNISERV)และหัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - เรื่อง “ทศวรรษแห่งการปรับตัว สานกลยุทธ์ธุรกิจสู่ Net Zero” กลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้า และเงื่อนไขตลาดทุนโลกและมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในทศวรรษที่ผ่านมาและในอนาคต โดยนายธีรพงศ์  จันศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)การเสวนา เรื่อง“บทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยกับการพัฒนามหาวิทยาลัย”โดยผู้แทนคณะกรรมการส่งเสริมจากทุกกลุ่มสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนานอกจากนั้น  จะมีการเยี่ยมชมศึกษาดูงานโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย  ฟาร์มมหาวิทยาลัย โรงเรือนไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์  การผลิตกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์  ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และเกษตรอัจฉริยะ Smart Fisheryพร้อมทั้งเยี่ยมชมศึกษาดูงาน  บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)  บริษัท ปลูกผักเพระรักแม่โ จำกัด (มหาชน) (โอ้กะจู๋) และ บริษัท กรีนไดมอนด์ จำกัด (บุญสมฟาร์มสาหร่ายเกลียวทอง)  ซึ่งเป็นภาคีภาคธุรกิจที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้  รวมถึงการศึกษาดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ล้านนา และด้านหัตถกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่น  ดร.วรพงศ์ นันทาภิวัฒน์ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า“ขอเชิญชวนคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทุกท่านเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพราะคณะกรรมการส่งเสริมฯ คือผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจและการศึกษา เราจะได้มีส่วนร่วมในการหารือและหาข้อแนะนำในการที่จะทำให้ประเทศเราบรรลุการเป็นNet Zeroในปี2065ได้” การประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 นอกจากเผยแพร่ภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัย และจังหวัดเชียงใหม่ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจและชุมชนในทุกมิติต่อไป
1 พฤศจิกายน 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจทางวิชาการด้านสหกิจศึกษาและการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน กับ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีและต้อนรับ นางสาววราพร ละมูลตรี ผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) และคณะ ณ ห้องประชุมพวงเสด สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ สนับสนุน ส่งเสริมด้านการจัดการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน สนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความรู้ ทักษะร่วมกันในการฝึกประสบการณ์ภายใต้การถ่ายทอดความรู้จากสถานการณ์จริง ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการอย่างเป็นระบบ และเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรหลักในการรับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพและฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา
31 ตุลาคม 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”
วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้   ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้แต่ละรุ่น และนักศึกษา ร่วมรำลึกอธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็นครู”ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่างเป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไปจึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่าการเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้” ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน”อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบัน
30 ตุลาคม 2567
ภาคเอกชนสนใจปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ของแม่โจ้ ภายใต้การวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจ
     รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในเรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ และเป็นผู้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ในรูปแบบต่าง ๆ จนได้เป็นปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานตามหลักของกรมวิชาการเกษตร และได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ทำให้ภาคเอกชน โดยบริษัท เวิร์ล ทรีส์ แพลนท์ จำกัด ให้ความสนใจสั่งซื้อปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อต่อยอดทางธุรกิจของทางบริษัทฯ ต่อไป     อนึ่ง ทางบริษัทฯและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการทำบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ (MOU) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2566 เพื่อสั่งซื้อปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์จำนวนมาก โดยจะมีศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ผลิต และจัดส่งให้ตามข้อตกลง ความร่วมมือกับทางบริษัทฯ ซึ่งนับเป็นการนำผลผลิตนวัตกรรม จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป
29 ตุลาคม 2567
ขอเชิญร่วมระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
"...งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน ใครที่ตายเพราะทำงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ ไว้ให้ที่แม่โจ้" อมตะโอวาท ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ชาวแม่โจ้ ร่วม“ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2459 หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477 ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้ เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์ จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484 จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็น “ครู” ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่าง เป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไป จึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่า “การเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้”ตลอดระยะเวลาท่านได้สร้างการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทั้งระบบการปกครอง บุคลากรและนักเรียนแม่โจ้อย่างก้าวกระโดด ท่านได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการ เป็นผู้บุกเบิกและสร้างงานอาชีวเกษตรของประเทศ ริเริ่มกิจกรรม อกท. (องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย) ก่อตั้ง อกท.หน่วยแม่โจ้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึง โครงการเกษตรกรหนุ่มแห่งประเทศไทย (Young Farmers Pilot Project of Thailand : YTF จัดให้มีขึ้นครั้งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยขณะนั้น ท่านร่วมจัดตั้งโครงการหลวงเกษตรภาคเหนือ จัดตั้งและสนับสนุนโครงการอาสาพัฒนาแม่โจ้ นำนักศึกษา อาจารย์ ออกพัฒนาชนบท อึกทั้งยังได้ถวายงานด้านการเกษตรและงานโครงการตามพระราชดำริหลายโครงการ และยังได้ริเริ่มจัดงานเกษตรแม่โจ้ อีกทั้งยังได้ริเริ่มระบบการให้โควตาศึกษาต่อระบบปริญญาตรีที่แม่โจ้ ท่านคือผู้สร้างและพัฒนาให้ “แม่โจ้” เป็นแหล่งความรู้และหล่อหลอมบุคลากรการเกษตรทุกระดับที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2527 บรรดาศิษย์ แม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญา “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบันขอเรียนเชิญคณาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมงาน “ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” ในวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 07.30 น. เป็นต้นไป ณ ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย หน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมายเหตุ : การแต่งกายชุดพื้นเมือง หรือชุดสุภาพติดต่อจองพวงมาลาได้ที่ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ 053 353140
29 ตุลาคม 2567
พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ที่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และนายชัยยศ สัมฤทธิ์กุล กรรมการ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด  ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวถึงการสนับสนุนงานวิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์พืชผัก และความเป็นมาของ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชานุมัติให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา โดยศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธุ์เพ็ญศิริ ร่วมกับบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ดำเนินการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ จำนวน 19 ชนิด ที่ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชในนามของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปปลูกต่อได้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรในระบบอินทรีย์อย่างมาก ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้จัดตั้ง บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เพื่อผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อินทรีย์เท่านั้น รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องด้านเกษตรอินทรีย์เมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ทั้ง 19 ชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1, ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1, มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์, พริกขี้หนูปู่เมธ, แตงไทยหอมละมุน, สลัดช่อผกาพัฒนาเอง, พริกพัฒนฉันท์, สลัดสวยงาม, ถั่วฝักยาวเสือเขียว, ถั่วฝักยาวเสือลายพาดกลอน, ถั่วฝักยาวเสือดุ, ถั่วฝักยาวเสือขาว, ถั่วพูของชอบ, สลัดของขวัญ, สลัดขายดี, สลัดรสดี และสลัดคนดีผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Facebook: ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ไลน์ไอดี: @firstorganicseeds (ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์) / E-Mail: 09farm.mju@gmail.com หรือโทร 091 070 5757ราคาซองละ 20 บาทโปรโมชั่นพิเศษ ตั้งแต่วันนี้จนถึงเดือนธันวาคม 2567 “ซื้อ 5 ซอง แถม 1 ซอง” (สินค้ามีจำนวนจำกัดหรือจนกว่าสินค้าจะหมด)ทั้งนี้ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ มอบสมทบมูลนิธิชัยพัฒนาข่าว : มูลนิธิชัยพัฒนา
25 ตุลาคม 2567

ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวสารรอบเวียงเจียงใหม่ : ”อนุทิน“ นั่งเรือลุยน้ำที่เชียงใหม่ แจกข้าวและถุงยังชีพให้ประชาชน เผยกำลังใจชาวบ้านยังดี ขอบคุณทีมเชียงใหม่ทุกคน
วันนี้ (5 ต.ค. 67) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและเยี่ยมให้กำลังใจพี่น้องประชาชนที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมติดตามลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วยโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ได้นั่งเรือจากบริเวณเชิงสะพานภาค 5 ไปถวายถุงยังชีพให้แด่เจ้าอาวาสวัดป่าพร้าวนอก และลูกบ้าน บ้านป่าพร้าวนอก ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ และได้นั่งเรือไปตามหมู่บ้านป่าพร้าวนอก ผ่านไปยังถนนช้างคลาน อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เยี่ยมเยือนทักทายประชาชนที่ยังอาศัยอยู่ในบ้าน พร้อมกับได้มอบถุงยังชีพ น้ำดื่ม และอาหารให้กับประชาชน โดยในพื้นที่ดังกล่าวมีระดับน้ำค่อนข้างสูงกว่า 1.8 เมตร และน้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว จึงต้องใช้วิธีการมัดสิ่งของด้วยเชือกแล้วส่งให้ชาวบ้านซึ่งชาวบ้านที่มีบ้านสองชั้นยังคงอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว โดยอพยพขึ้นไปพักอาศัยอยู่บนชั้นสองของบ้าน ส่วนบ้านเดี่ยวหนึ่งชั้นส่วนใหญ่ชาวบ้านจะอพยพออกไปพักอาศัยในพื้นที่ที่ปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว การใช้ชีวิตยังคงเป็นไปด้วยความยากลำบากแต่ประชาชนยังคงมีรอยยิ้ม มีกำลังใจที่เข้มแข็งที่จะต่อสู้กับสภาวะวิกฤตนี้ภายหลังจากลงพื้นที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่และทีมเชียงใหม่ทุกหน่วยงาน มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์เป็นอย่างดี ซึ่งจากการลงพื้นที่ ได้สอบถามกับชาวบ้านว่าสามารถอยู่ได้ โดยมีทางจังหวัดและเทศบาลนครเชียงใหม่คอยส่งอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของจำเป็น เข้ามาให้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งคาดว่ามวลน้ำที่ได้ทะลักเข้ามาท่วมบ้านเรือนของประชาชนเมื่อคืนที่ผ่านมาจะเป็นมวลน้ำก้อนสุดท้ายในช่วงฤดูฝนนี้แล้ว โดยมวลน้ำทั้งหมดที่ได้ไหลผ่านจังหวัดเชียงใหม่จะสิ้นสุดยังเขื่อนภูมิพล แต่เนื่องด้วยขณะนี้มีน้ำจำนวนมากทำให้การระบายน้ำอาจจะมีความล่าช้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ระดมสรรพกำลังจากทุกหน่วยงาน ทั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว คาดว่าอีก 3-5 วันสถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายลง ในส่วนการดูแลประชาชนมั่นใจว่าจังหวัดเชียงใหม่และทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน จะดูแลประชาชนอย่างเต็มที่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่5 ตุลาคม 2567
5 ตุลาคม 2567
ข่าวสารรอบเวียงเจียงใหม่ : นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายชัยณรงค์ นันตาสาย นายอำเภอแม่แตง บูรณาการร่วมกับหมวดการทางแม่แตง อบต.ป่าแป๋ กำนันผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง,สภ.ป่าแป๋, กู้ชีพกู้ภัย อบต.ป่าแป๋, กู้ชีพอบต.สบเปิง ได้ช่วยกันนำส่งผู้ป่วยจาก ตำบลป่าแป๋ โดยใช้แรงงานคนยกคนป่วยข้ามจุดดินสไลด์เส้นทาง 1095 แม่มาลัย-ปาย และส่งต่อรถกู้ชีพและรถพยาบาลได้ปลอดภัย ไปรักษาตัวที่ โรงพยาบาลแม่แตงเป็นที่เรียบร้อย
วันนี้ (4 ต.ค. 67) นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายชัยณรงค์ นันตาสาย นายอำเภอแม่แตง บูรณาการร่วมกับหมวดการทางแม่แตง อบต.ป่าแป๋ กำนันผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง,สภ.ป่าแป๋,  กู้ชีพกู้ภัย อบต.ป่าแป๋, กู้ชีพอบต.สบเปิง ได้ช่วยกันนำส่งผู้ป่วยจาก ตำบลป่าแป๋ โดยใช้แรงงานคนยกคนป่วยข้ามจุดดินสไลด์เส้นทาง 1095 แม่มาลัย-ปาย  และส่งต่อรถกู้ชีพและรถพยาบาลได้ปลอดภัย ไปรักษาตัวที่ โรงพยาบาลแม่แตงเป็นที่เรียบร้อย
4 ตุลาคม 2567
ข่าวสารรอบเวียงเจียงใหม่ : เซ็นทรัล สนับสนุนข้าวกล่อง ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเขตเมืองเชียงใหม่
วันนี้ (26 ก.ย. 67) บริษัทในเครือเซ็นทรัลได้ร่วมกันนำอาหาร เป็นข้าวกล่อง จำนวน 500 กล่อง มามอบให้กับ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ หลังได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม โดยทางเซ็นทรัลจะสนับสนุนข้าวกล่องมาให้กับทางจังหวัดเชียงใหม่ทุกวัน วันละ 500 กล่อง จากนั้นจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปบริหารจัดการแจกจ่ายให้กับประชาชนตามบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีอาหารกินทุกมื้อ ตามแนวทางการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบของจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ ภาพ / ข่าว 26 กันยายน 256
27 กันยายน 2567
ข่าวสารรอบเวียงเจียงใหม่ : รองผู้ว่าฯเชียงใหม่ ลงพื้นที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัย พร้อมระดมรถยกสูงและเรือท้องแบน จากทุกหน่อยงาน สนับสนุน ศูนย์ CM FORCE เทศบาลนครเชียงใหม่
วันที่ 25 ก.ย. 2567 เวลา 00.00น.นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการเชียงใหม่ มอบหมายให้นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายดุสิต พงษ์ศาพิพัฒน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเฉพาะกิจเทศบาลนครเชียงใหม่ (CMFORCE) ณ แขวงกาวิละ และตรวจการปฏิบัติงานของเครื่องจักรในการนำสิ่งกีดขวางลำน้ำปิงออก ณ สะพานเม็งรายอนุสรณ์ และเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำบริเวณสะพานนวรัฐ (P1) อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ระดม รถยกสูง และเรือท้องแบน จากทุกหน่อยงาน สนับสนุน ศูนย์ CM FORCE เทศบาลนครเชียงใหม่ เพิ่มเติม อาทิ รถสูง 2 คัน เรือ 1 ลำ (จากปภ.เชียงใหม่ ), รถสูง 1 คัน เรือ 2 ลำ (จากปภ.เขตลำปาง ), รถสูง 5 คัน (จากมทบ.33 ทหารบก), รถสูง 1 คัน เรือท้องแบน 1 ลำ (จากปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ) และ เรือท้องแบน 1 ลำเสริมรถยกสูง 3 คัน และเรือท้องแบนอีก 2 ลำ (จากบน.41 กองทัพอากาศ ) เพื่อเตรียมพร้อมดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำปิงล้นตลิ่ง สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ 26 กันยายน 2567
26 กันยายน 2567
ข่าวรอบเวียงเจียงใหม่ : ผู้ว่าฯ เผยทีมเชียงใหม่พร้อมสแตนบายให้การช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง หากน้ำเต็มเขื่อนแม่งัด จะปล่อยให้น้ำค่อยๆล้นสปิลเวย์ แทนการระบายน้ำออกท้ายเขื่อน
วันนี้ (25 ก.ย. 67) นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผย ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ล่าสุดขณะนี้มวลน้ำในแม่น้ำปิงได้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน ร้านค้า และพื้นที่ในย่านตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่บางส่วน โดยก่อนหน้านี้จังหวัดเชียงใหม่ได้เตรียมความพร้อมร่วมกับทุกภาคส่วนในการรับมือกับสถานการณ์อุทกภัย พร้อมทั้งแจ้งเตือนไปยังพี่น้องประชาชนถึงสถานการณ์ให้ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถขนย้ายสิ่งของมีค่า หรืออพยพไปยังสถานที่ปลอดภัยได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในรายชั่วโมงนี้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เพิ่มมาตรการดูแลพี่น้องประชาชนในทุกด้าน ทั้งการอำนวยความสะดวก ในด้านการเดินทางสัญจร การดูแลผู้ป่วยติดเตียง คนชรา เด็กและสตรีมีครรภ์ รวมถึงอาหารและน้ำดื่ม โดยจังหวัดเชียงใหม่ได้บูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนจัดรถบรรทุกคันใหญ่ ไว้คอยบริการรับส่งพี่น้องประชาชนในเส้นทางที่น้ำท่วมสูงและรถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมถึงจัดทีมแพทย์ไว้คอยบริการพี่น้องประชาชนตามจุดต่างๆ ส่วนเรื่องของอาหารได้มีทีมจัดเตรียมอาหาร แจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนได้ทานครบทั้ง 3 มื้อ ส่วนความกังวลของพี่น้องประชาชน ในเรื่องความจุเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ที่ขณะนี้ปริมาณน้ำใกล้จะเกินจำนวนความจุของเขื่อนนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลได้ทำหน้าที่ ในการถ่วงความสมดุลย์ของน้ำ ไม่ให้น้ำที่ไหลมาจากอำเภอพร้าว อำเภอแม่แตง ไหลมาสมทบน้ำในแม่น้ำปิงทั้งหมด โดยตลอดสองวันที่ผ่านมา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลได้กักเก็บน้ำในส่วนนี้ไว้ในเขื่อนเพื่อให้เหลือปริมาณน้ำจำนวนน้อยที่สุดไหลผ่านแม่น้ำปิง อย่างไรก็ตาม หากยังมีฝนตกสะสมในพื้นที่ต่อเนื่อง คาดว่าในคืนนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลอาจมีความจุเต็มจำนวนและมีน้ำส่วนเกินล้นออกจากเขื่อนได้ โดยจังหวัดเชียงใหม่ได้เตรียมความพร้อมในการรับมือโดยจะปล่อยให้น้ำค่อยๆล้นออกจากสปิลเวย์ แทนการระบายน้ำออกท้ายเขื่อน ควบคู่กับเร่งระบายน้ำในน้ำปิงออกโดยเร็วที่สุด ด้วยวิธีการกำจัดสิ่งกีดขวางตามฝายกั้นน้ำ สะพาน ตลอดลำน้ำปิง เพื่อให้น้ำสามารถไหลผ่านได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งประกาศแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนให้ระมัดระวัง ยกของขึ้นที่สูง หรืออพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงก่อน สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ 25 กันยายน 2567
26 กันยายน 2567
ข่าวรอบเวียงเจียงใหม่ : เชียงใหม่ ห่วงใยประชาชนเปิด 3 โรงพยาบาล ตั้งเป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง
วันนี้ (25 ก.ย. 67) ที่ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประชุมหารือร่วมกับ นายแพทย์จตุชัย มณีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินหลังระดับน้ำในแม่น้ำปิงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนได้รับความเดือดร้อน ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายต่อประชาชนที่มีปัญหาทางสุขภาพทั้งผู้ป่วยติดเตียง คนชรา เด็ก และสตรีมีครรภ์ ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง โดยจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินไว้คอยบริการให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ป่วยติดเตียง หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยฉุกเฉิน จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลแม่และเด็ก โรงพยาบาลสวนปรุง และโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ซึ่งประชาชนสามารถขอรับความช่วยเหลือเร่งด่วนทางด้านสุขภาพได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 06-5472-4300 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ขณะเดียวกันสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้เสริมทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกรักษาพยาบาลพี่น้องประชาชนในพื้นที่ในโซนน้ำท่วมกรณีมีประชาชนเจ็บป่วยอีก จำนวน 3 จุดได้แก่ พุทธสถานเชียงใหม่ โรงเรียนพิมานเด็กเชียงใหม่ และวัดท่าสะต๋อย ซึ่งล่าสุดทางเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้สำรวจจำนวนผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในพื้นโซน 1-6 มีทั้งหมดจำนวน 78 คน ซึ่งมีผู้ที่มีความประสงค์อยากย้ายไปพักพิงข้างนอก จำนวน 6 คน และมีจำนวน 2 คน ไม่มีที่ไป เบื้องต้นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่จึงได้พาตัวไปพักอาศัยยัง ชั้น 3 อาคารโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่แล้วเรียบร้อย ทั้งนี้ นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ลงพื้นที่ไปยังโรงเรียนพิมานเด็กเชียงใหม่ และแขวงกาวิละ เพื่อตรวจเยี่ยมจุดให้บริการทางการแพทย์ประชาชน ซึ่งจากการลงพื้นที่สอบถามเจ้าหน้าที่พบว่าทุกหน่วยมีความพร้อมในการรองรับผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยปกติ และผู้ป่วยฉุกเฉิน พร้อมกับได้เตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงเรือ รถกู้ชีพกู้ภัย สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกรณีมีเหตุฉุกเฉินเพื่อส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาพยาบาลได้อย่างทันท่วงที สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ 25 กันยายน 2567
25 กันยายน 2567
ข่าวรอบเวียงเจียงใหม่ : รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่กรวดน้ำท่วมที่จังหวัดเชียงใหม่ หลังสถานการณ์น้ำปิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (25ก.ย.67) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นำคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ บริเวณ จุดวัดน้ำ P.1 สะพานนวรัฐ, ศูนย์บริหารจัดการน้ำแขวงกาวิละ, ตรวจการจัดเก็บเศษไม้ และสิ่งปฏิกูลโดยเครื่องจักร เพื่อให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่สะพานเม็งราย จากนั้นลงพื้นที่ตรวจประเมินสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำริมน้ำปิงถนนเจริญประเทศ, ถนนช้างคลาน และชุมชนป่าพร้าวนอก ที่มีน้ำท่วมขังในปริมาณสูง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การบริหารจัดการของจังหวัดเชียงใหม่ และเทศบาลนครเชียงใหม่ ในภาพรวมบริหารจัดการได้ดี มีการแจ้งเตือนประชาชนและให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางได้รวดเร็ว ฝากถึงผู้ประสบภัยให้เร่งลงทะเบียนผู้ประสบภัย เพื่อรับเงินเยียวยา นอกจากนี้ ในเดือนกันยายน 2567 ผู้ประสบภัยไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ โคางการชลประทานเชียงใหม่คาดการณ์ ปริมาณน้ำปิง ที่จุดวัดระดับน้ำ P.1 จะอยู่ในระดับสูงสุดในช่วงเวลาประมาณ 00.01 - 02.00 น. ของวันที่ 26 ก.ย. 67 ที่ระดับ 5.02 เมตร จะมีอัตราการไหลของน้ำ 642 ลูกบาศก์เมตร ต่อ วินาที อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ในปีนี้สูงกว่าปี 2565 แต่มีปริมาณน้อยกว่าปี 2554 แต่จะเทียบเท่าปี 2548 ส่วนการระบายน้ำที่เขื่อนแม่สมบูรณ์ชลไม่มีการระบายน้ำแต่อย่างใด เพราะยังเหลือที่รับน้พได้อีก 16 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังจากน้ำกลับเข้าสู่ลำน้ำแล้วทางเจ้าหน้าที่ก็จะใช้เวลาในการสูบน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขังประมาณ 3 วัน น้ำที่ท่วมขังทั้งหมดก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ 25 กันยายน 2567
25 กันยายน 2567