MJU RADIO FM 95.50 MHz
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : วิทยุบริการสาธารณะ
มูลนิธิโครงการหลวงแถลงข่าวจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ และ งานโครงการหลวง 2567 “Hats on Hills: ห่มเขาด้วยเงาไม้ ใต้ร่มพระบารมี 55 ปี โครงการหลวง” จัดขึ้นในวันที่ 1-10 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี เลขาธิการ และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ กรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) และ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการเชียงใหม่ แถลงข่าวการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “จากการพัฒนาทางเลือกมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาทางเลือก เพื่อรับมือการท้าทายทุกประเด็นของโลก” และ งานโครงการหลวง 2567 “Hats on Hills: ห่มเขาด้วยเงาไม้ ใต้ร่มพระบารมี 55 ปี โครงการหลวง” ณ อาคารริมน้ำ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่โดยทั้งสองกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโครงการหลวง เผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระบรมราโชบาย สืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการก่อตั้งโครงการหลวงจนเกิดผลสำเร็จ แก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติดการประชุมวิชาการนานาชาตินี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ถึง 4 ธันวาคม 2567 เพื่อนำผลสำเร็จจากการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่สูงด้วยรูปแบบการพัฒนาทางเลือกแบบโครงการหลวง เผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้ และเกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง รวมทั้งใช้โอกาสในการประสานพลังความร่วมมือกับหน่วยงานที่ดำเนินการพัฒนาพื้นที่สูงในประเทศไทย และนานาประเทศ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนในการสร้างพลังของการพัฒนาทางเลือกเพื่อรับมือกับความท้าทายของโลกปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและนานาประเทศสามารถเดินทางไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ทั้ง 17 ข้อ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศ ตอบรับเข้าร่วมการประชุมแล้ว 29 ประเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาในประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมอีกกว่า 300 คน ผู้ร่วมประชุมทั้งหมดจะได้เดินทางไปเรียนรู้ในพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในแง่มุมที่แตกต่าง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงป่าแป๋ ในช่วงเวลาและสถานที่เดียวกันนี้ มูลนิธิโครงการหลวงยังมีจัดงานโครงการหลวง 2567 โดยปีนี้ได้ขยายเวลาขึ้นเป็น 10 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 10 ธันวาคม 2567 ภายใต้แนวคิด “Hats on Hills ห่มเขาด้วยเงาไม้ ใต้ร่มพระบารมี 55 ปี โครงการหลวง” ผลการพัฒนาพื้นที่สูงด้วยพระบารมีปกเกล้า ชุมชนที่สูงจึงมีชีวิตใหม่ที่มีสุข ร่มเย็น ขุนเขาฟื้นความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารสำคัญของประเทศ ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของทั้งสองรัชกาล สร้างประโยชน์สุขทั้งแก่ชาวเขา ชาวเรา และชาวโลก กิจกรรมที่นำมาจัดแสดงภายในงานมีทั้งนิทรรศการแสดงผลสัมฤทธิ์การพัฒนาพื้นที่สูงของประเทศไทย : สู่ความท้าทายโลก พร้อมการจัดตกแต่ง ประดับประดาพื้นที่อย่างสวยงามด้วยพืชผลที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา สอดแทรกด้วยสาระความรู้ ความสนุกเพลิดเพลิน ผ่านกิจกรรมฐานเรียนรู้ ที่ได้รับการสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมศิลปะการวาดภาพด้วยสีน้ำ โดย ศิลปินวาดภาพจิตอาสา ผู้เขาชมงานจะได้สนุก เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมประดิษฐ์ประดอยของที่ระลึกด้วยฝีมือของตนเอง สำหรับผลิตผล ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่เกิดจากคุณูปการของโครงการหลวงต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ได้ส่งตรงจากดอยมามากกว่า 800 รายการ และปีนี้โครงการหลวงยังจัดมุมทดสอบผลิตผลใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัย เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ชิมและให้ความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาพันธุ์ และการส่งเสริมแก่เกษตรกร ผลิตผลใหม่เหล่านี้ ได้แก่ แตงกวามินิบอล พริกหวานรับประทานสด รวมทั้งผัก และผลไม้พระราชทานชนิดต่าง ๆร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์โครงการหลวงจากชาวดอย อิ่มอร่อยไปกับอาหารหลากหลายเมนู ดูนิทรรศการ ชมฐานเรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา ในงานโครงการหลวง 2567 วันที่ 1-10 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่
22 พฤศจิกายน 2567     |      13
เจ้าหน้าที่ Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) คณะวิทยาศาสตร์
ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 เวลา 9.00-11.30 น. ทาง ดร.สุภาภรณ์ รอดประดิษฐ์ นักวิชาการพืชสวน สังกัด สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้นำคณะเจ้าหน้าที่จาก Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) ณ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ โดยมี ผศ.ดร.ปวีณา ภูมิสุทธาผล เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมฝึกประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้แก่คณะผู้ศึกษาดูงาน
20 พฤศจิกายน 2567     |      54
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้รับโล่ Prime Minister Road Safety Awards ในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่องความปลอดภัยทางถนนครั้งที่ 16 “สานพลังเข้มข้น สร้างกลไกเข้มแข็ง เพื่อถนนไทยปลอดภัย”
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับรางวัล Prime Minister Road Safety Award ประเภทบุคคล จาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 16 “สานพลังเข้มข้น สร้างกลไกเข้มแข็ง เพื่อถนนไทยปลอดภัย” Road Safety Stronger Together ณ ศูนย์การประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่มเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
20 พฤศจิกายน 2567     |      103
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน)
ในวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานต้อนรับและร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี คุณชัยยศ ชุณห์วิจิตรา ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสินทรัพย์ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจ ทั้งนี้พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัย และการให้บริการวิชาการของบุคลากรซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาของทั้งสองฝ่าย เพื่อสร้างองค์ความรู้และสร้างขีดความสามารถการบูรณาการด้านวิจัยและแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมร่วมกัน สร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของแต่ละฝ่าย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ผลงานวิจัย องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา (Talent Mobility) ระหว่างทั้งสองฝ่าย
19 พฤศจิกายน 2567     |      46
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้หน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีกรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารีและร่วมลงนามถวายพระพร
     วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้หน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี   พร้อมลงนามถวายพระพรขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร และมีพระพลานามัยแข็งแรงในเร็ววัน เป็นมิ่งขวัญแก่ประชาชนสืบไป  ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ถนนกำแพงเพชร 6 เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
19 พฤศจิกายน 2567     |      14
จังหวัดเชียงใหม่ จัดงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2567 แห่สะเปาล้านนา สืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม
ค่ำวันนี้ (15 พ.ย. 67) ที่ลานประตูท่าแพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่จัดประกวดขบวนแห่สะเปาล้านนา ในงานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2567 เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนให้ยั่งยืนสืบไป โดยเริ่มเดินขบวนตั้งแต่ลานประตูท่าแพ ผ่านถนนท่าแพ ไปยังถนนไปรษณีย์ ถนนวิชยานนท์ มุ่งหน้าสู่สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ท่ามกลางนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ยืนริมสองฝั่งถนน เพื่อรอชมความงดงามของขบวนสะเปา โดยในค่ำคืนนี้มีหน่วยงานและชุมชนต่างๆ ประดิษฐ์ตกแต่งสะเปาส่งเข้าประกวด จำนวน 10 ขบวน ซึ่งขบวนแรกเป็นขบวนของเทศบาลนครเชียงใหม่ ถัดมาเป็นขบวนของโรงเรียนเทศบาลวัดเชียงยืนร่วมกับโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ, ชุมชนวัดศรีปิงเมือง, สมาคมกลองและศิลปะการแสดงล้านนา, สภาวัฒนธรรมอำเภอแม่ริม, โรงเรียนเทศบาลวัดเกตการาม, โรงเรียนเทศบาลวัดศรีสุพรรณ, โรงเรียนวัด ชุมชน ป่าแพ่ง - วังสิงห์คำ และโรงเรียนเทศบาลวัดพวกช้าง, โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย ร่วมกับ โรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกอง และโรงเรียนเทศบาลดอกเงิน และปิดท้ายด้วยขบวนจากวัดอุปคุต ร่วมกับชุมชนวัดหัวฝาย และโรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย ทั้งนี้ คำว่า “สะเปา” หมายถึงเรือสำเภาในภาษาพื้นเมือง เชื่อกันว่าการล่องสะเปาคือการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ โดยการประดิษฐ์สะเปาของชาวล้านนา จะใช้กาบกล้วย มะละกอ ไม้ไผ่ หรือกระดาษแก้วใสมาตกแต่งและประดับประดาด้วยดอกไม้ หรือใช้กระดาษสีตัดเป็นลวดลายต่างๆ ติดด้านข้างลำสะเปา นอกจากนี้ยังมีสิ่งของอื่นๆ ที่มักใส่ลงไปในสะเปาด้วย อาทิ ข้าวสุก กล้วย อ้อยควั่น ข้าวต้มจิ้ม น้ำตาล เกลือ ยาสูบ หมาก พลู ดอกไม้ ธูป เทียน และอื่นๆ เพราะเชื่อกันว่าผู้ล่วงลับที่ได้อุทิศส่วนกุศลหรือทำทานไปให้ จะนำสิ่งของเหล่านั้นไปใช้ในอีกภพหนึ่งได้
16 พฤศจิกายน 2567     |      38
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ จัดทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2567 ณ วัดมงคลเศรษฐี อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ จัดทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2567 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธาน นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร ตัวแทนนักศึกษา และสาธุชนทั้งหลายเข้าร่วมพิธีทอดกฐินถวาย ณ วัดมงคลเศรษฐี ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่   ซึ่งมียอดเงินทำบุญ จำนวน 274,014.45 บาทขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และบุญกุศลที่ท่านได้บำเพ็ญในครั้งนี้ ได้ดลบันดาลให้ ท่านพร้อมครอบครัว ประสบแต่ความสุขความเจริญ และสัมฤทธิ์ผลในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการเทอญ
15 พฤศจิกายน 2567     |      141
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2567
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. นางสาว จงรักษ์ บัวลอย ผู้อำนวยการกองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2567 โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี  ห้องประชุมเวียงเจ็ดลิน ชั้น 5 อาคารสำนักงานสวนสัตว์เชียงใหม่ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2545 กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย  ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบังคับเมฆให้เกิดเป็นฝน  จนเกิดเป็นโครงการพระราชดำริฝนหลวง ขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากให้แก่พสกนิกรที่ประสบภัยแล้ง และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศมาจวบจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งแสดงถึงพระวิสัยทัศน์และพระอัจฉริยภาพอันกว้างไกลของพระองค์โดยภายในงานได้มีการจัดนิทรรศการ "พระบิดาแห่งฝนหลวง"  เพื่อแสดงถึงพระราชกรณียกิจทางด้านฝนหลวงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้แก่ผู้ร่วมงานได้รับชมและศึกษาเรียนรู้อีกด้วยภาพ : กองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ  /  สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่
14 พฤศจิกายน 2567     |      66
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จเป็นองค์ประธาน ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
     วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2567  เวลา 18.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จเป็นองค์ประธาน ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่     พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานถวายผ้าพระกฐินแด่พระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ประจำปี 2567 ณ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา และสมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์ โรงครัว ค่าน้ำ ค่าไฟ และบำรุงวัด โดยมี นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้แทนศาล ทหาร ตำรวจ เหล่ากาชาดจังหวัดฯ ส่วนราชการ และประชาชนเฝ้ารับเสด็จฯ      โอกาสนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงประทานตราตั้งให้แก่คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาวัด คณะที่ปรึกษาวัด และไวยาวัจกร (เพิ่มเติม) จำนวน 6 ราย พร้อมทั้งทรงประทานของที่ระลึกให้แก่ผู้มีกุศลจิตบริจาคทรัพย์ และสนับสนุนการดำเนินงานของวัด      จากนั้นได้ทรงทอดพระเนตรการแสดงในชุด “พญาอุชุนาคราชบูชา ปกปักรักษานครพิงค์เชียงใหม่“ ซึ่งนำแสดงโดยคณะอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่สื่อถึงการถวายความเคารพและบูชาแด่พญานาคผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งนครเชียงใหม่ ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้พิทักษ์เมือง และผู้คุ้มครองคนในนครพิงค์เชียงใหม่อย่างมั่นคงมาช้านาน ผ่านการแสดงที่ผสมผสานระหว่างการร่ายรำและดนตรีไทยอย่างสง่างาม      โดยพิธีการสำคัญครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่จะได้ร่วมสร้างกุศล เพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความศรัทธาต่อบวรพระพุทธศาสนา และแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อช่วยกันส่งเสริมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงสถาพรสืบไป      ทั้งนี้ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ในการบูรณปฏิสังขรณ์วิหารให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานศิลปกรรมท้องถิ่นแบบล้านนา โดยเมื่อครั้งที่ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพความทรุดโทรมของวัดและฝาผนังวิหาร จึงมีพระดำริที่จะบูรณะให้ดีขึ้น ด้วยการตั้งพระทัยว่า ขอนำความรู้ที่ได้ศึกษามาปฏิบัติพระกรณียกิจเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติให้รุ่งเรือง โดยทรงดำเนินงานวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง “ พระมหาชนก ” และทรงสร้างพระพุทธปฏิมาสิริภานิรมิต เป็นพระประธานในวิหาร
14 พฤศจิกายน 2567     |      114
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมประชุมเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 2/2567 ณ ภัตตาคารเจี่ยท้งเฮง จังหวัดเชียงใหม่
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เวลา 17.00 น. ที่ ภัตาคารเจี่ยท่งเฮง สาขาฟ้าฮ่าม   รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประชุมเครือข่าย 12 สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่2/2567 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธาน และโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น และอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับในฐานะเจ้าภาพการจัดการประชุมดังกล่าวการจัดประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ประสานความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงนโยบายระดับสถาบันอุดมศึกษาให้เกิดแนวทางการดำงานร่วมกัน โดยมีสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 12 สถาบัน เข้าร่วมประชุมภาพ : งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
13 พฤศจิกายน 2567     |      76
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมประชุมภาคีเครือข่ายสื่อประชาสัมพันธ์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พื้นที่เขต 1เชียงใหม่
วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช หัวหน้าสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมประชุมภาคีเครือข่ายสื่อประชาสัมพันธ์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พื้นที่เขต 1เชียงใหม่เพื่อประชุมหารือแนวทางในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สร้างความรู้ความเข้าใจ กระตุ้นให้ประชาชนเข้าถึง สิทธิประโยชน์ การให้บริการ ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีเครือข่ายสถานีวิทยุเข้าร่วมประชุมหารือได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ , อสมท.เชียงใหม่ข่าว / ภาพ : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่
12 พฤศจิกายน 2567     |      97
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมงาน The 11th "GEAR - UP Forum, 2024: Advancing Sustainable Agriculture through Science and Technology“ (GEAR-UP 2024) ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงชิง (ไต้หวัน)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมงาน The 11th "GEAR - UP Forum, 2024: Advancing Sustainable Agriculture through Science and Technology“ (GEAR-UP 2024) จัดโดย ศูนย์เกษตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงชิง สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 11 โดยเชิญนักวิชาการชั้นนำทั้งในและต่างประเทศช มาร่วมพูดคุยในประเด็นด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การเกษตร เกษตรอัจฉริยะ และสัตวแพทยศาสตร์ปศุสัตว์มหาวิทยาลัยแห่งชาติจงชิง และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีความร่วมมือทางวิชาการมายาวนาน ต่อเนื่องตลอดกว่าสิบปีที่ผ่านมา ในอนาคต มหาวิทยาลัยทั้งสองจะยังคงพัฒนาความร่วมมือในสาขาเทคโนโลยีเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพ และสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทรัพยากรวิชาการที่หลากหลายยิ่งขึ้นสำหรับนักศึกษาและการวิจัยของทั้งสองฝ่าย โดยในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา ได้รับเกียรติให้เป็นผู้กล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรมการประชุมวิชาการ พร้อมแลกเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายAssociate Professor Dr. Weerapon Thongma, President of Maejo University, along with Dr. Winitra Leelapattana, Associate Dean of the International College, attended “The 11th GEAR-UP Forum, 2024: Advancing Sustainable Agriculture through Science and Technology” (GEAR-UP 2024) organized by the International Agricultural Center and College of Agriculture and Natural Resources, National Chung Hsing University on November 11, 2024. This event, now in its eleventh year, bringstogether leading scholars from both domestic and international backgrounds to discuss topics on environmental sustainability, agricultural science, smart agriculture, and veterinary livestock.National Chung Hsing University and Maejo University have had a long-standing academic partnership, with continuous collaboration spanning over a decade. In the future, both universities aim to further their cooperation in the fields of agricultural technology, bio-industries, and veterinary sciences, enriching academic resources for students and research on both sides. On this occasion, Associate Professor Dr. Weerapon Thongma was honored to give the opening welcome speech for the conference, sharing insights on enhancing collaboration between the two institution
11 พฤศจิกายน 2567     |      82
kick off !! มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว ชุดแรกสู่พี่น้องประชาชน จำนวน 2,000 ชุด ผ่านสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ภายใต้โครงการเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ชุบชีวีหลังน้ำลด
วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2567 kick off !! มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมส่งมอบเมล็ดพันธุ์ผักชุดแรก จำนวน 2,000 ชุด ผ่านสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ เพื่อนำส่งมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยที่ผ่านมา โดยเป็นเมล็ดพันธุ์ผักที่ปลูกง่ายใช้ช่วงเวลาสั้น จำนวน 6 ชนิด ประกอบด้วย ผักคะน้าลูกผสม พริกขี้หนู ถั่วฝักยาว ผักกาดขาวปลีลูกผสม มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์ ผักกวางตุ้งต้นลูกผสม โครงการเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ชุบชีวีหลังน้ำลด เป็นโครงการระหว่าง การท่าเรือแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย ในพื้นที่ 11 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ ลำปาง สุโขทัย นครพนม บึงกาฬ มุกดาหาร หนองคาย และ ตาก การส่งมอบเมล็ดพันธุ์ผักในครั้งนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฟื้นฟูหลังน้ำลด ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ตลอดจนช่วยให้มีความมั่นคงทางอาหารในชีวิตประจำวัน รวมถึงการก่อให้เกิดรายได้อย่างรวดเร็ว โดยที่มาของเมล็ดพันธุ์ผักมาจากผลิตผลทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตลอดจนความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของศิษย์เก่า และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
11 พฤศจิกายน 2567     |      138
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พุทธศักราช 2567 ณ วัดยั้งเมิน ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2567 พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง นำผ้าพระกฐินพระราชทานของมูลนิธิโครงการหลวง ไปถวายแด่พระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ประจำปี 2567 ณ ที่ชุมนุมสงฆ์ วัดยั้งเมิน ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าพระกฐินแก่มูลนิธิโครงการหลวง โอกาสนี้ องคมนตรี ได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีของโรงเรียนวัดยั้งเมิน จำนวน 14 ทุน ในการนี้ อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยบุคลากร กองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พุทธศักราช 2567
11 พฤศจิกายน 2567     |      93
ขอเชิญร่วมงาน สืบฮีตโตยฮอยลอยกระทงแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ณ เรือนธรรมแม่โจ้ 60 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ขอเชิญชวน นักศึกษา/บุคลากร ร่วมเข้าประกวด ในงานสืบฮีตโตยฮอยลอยกระทงแม่โจ้ ประจำปี 2567วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ณ เรือนธรรมแม่โจ้ 60 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ประกวดเทพียี่เป็งแม่โจ้ ประจำปี 2567 กรอกใบสมัครได้ที่ลิงค์ https://forms.office.com/r/mpcRmSnZVt?origin=lprLinkรายละเอียดเกณฑ์การประกวด https://shorturl.asia/Ah32Fประกวดประดับตกแต่งซุ้มประตูป่า กรอกใบสมัครได้ที่ลิงค์ https://forms.office.com/r/G06mYjuxzK?origin=lprLinkรายละเอียดเกณฑ์การประกวด https://shorturl.asia/FdDOsประกวดกระทง กรอกใบสมัครได้ที่ลิงค์ https://forms.office.com/r/iCPXbRgnta?origin=lprLinkรายละเอียดเกณฑ์การประกวด https://shorturl.asia/ITNuo ส่งใบสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567ภายในเวลา 08.30 - 16.30 น. (หากพ้นกำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์)ติดต่อสอบถาม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 053-873300นักศึกษาที่เข้าร่วมงาน และเข้าร่วมการประกวดฯ รับชั่วโมงกิจกรรมเสรี
7 พฤศจิกายน 2567     |      135
โครงการประชุมเสวนาเชิงปฎิบัติการ “การจัดทำแผนปฎิบัติงาน พ.ศ.2568 และแผนกลยุทธ์ พ.ศ.2568-2572” ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ .
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้เดินทางมามอบนโยบายการปฏิบัติงาน รับฟังเสียงสะท้อนของการทำงาน ของบุคลากร นักศึกษา ตัวแทนผู้ปกครองนักศึกษา ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ ผู้ประกอบการร้านค้า พร้อมแนวทางการแก้ปัญหา โครงการประชุมเสวนาเชิงปฎิบัติการ “การจัดทำแผนปฎิบัติงาน พ.ศ.2568 และแผนกลยุทธ์ พ.ศ.2568-2572”  ณ ห้องประชุมกวางบุษราคัม ชั้น 3 อาคารนำชัย ทนุผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ
7 พฤศจิกายน 2567     |      121
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ Nigerians in Diaspora Organization Thailand (NIDO) จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการการดำเนินโครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่ประชาชนของสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย
     วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เป็นเจ้าภาพจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับใหม่ร่วมกับสมาคมชาวไนจีเรียในต่างประเทศแห่งประเทศไทย (NIDO) ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย     มหาวิทยาลัยแม่โจ้นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้; รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี; รองศาสตราจารย์ ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ; และบุคลากรวิทยาลัยนานาชาติ ได้ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก NIDO ประเทศไทยและสถานเอกอัครราชทูตไนจีเรีย นำโดย ดร.ลอยด์ นวาฟอร์ ประธานสมาคม NIDO ประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือครั้งใหม่นี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาและทักษะด้านการเกษตรให้แก่ประชาชนแห่งสาธารณรัฐไนจีเรีย
5 พฤศจิกายน 2567     |      101
( 04.11.2567 ) มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดโครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
     วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กล่าวรายงานโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร จากนั้น ประธานในพิธี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณบดีคณะสำนักต่างๆ ประธานมูลนิธิกล้วยไม้ไทย อดีตผู้บริหารคณะผลิตกรรมการเกษตร และผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ร่วมปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 50 ต้นและปล่อยกล้วยไม้ จำนวน 100 ต้น บริเวณรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา     สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  และสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาอันประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (OrganicUniversity)  มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ  (Eco University) และยังเป็นการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมของคณะผลิตกรรมการเกษตร
4 พฤศจิกายน 2567     |      116
มหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 “บทบาทคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ Net Zero 2065” ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่
การประชุมสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมระดมความคิดของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยจาก 148 แห่ง ทั่วประเทศ ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zeroผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University รวมถึงการปรับตัวสานกลยุทธ์ธุรกิจ สู่ Net  Zeroเพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้าและเงื่อนไขตลาดทุนโลก ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมทั้ง มอบนโยบายที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษ และร่วมเวทีเสวนา ในประเด็นที่น่าสนใจ  ได้แก่ -  เรื่อง“มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับการขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero”, ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิดGreen Universityการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  - เรื่อง “Climate Changeวิกฤตของโลก และทางออกของเรา” ความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤติโลกร้อน ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมที่จะนำพาโลกสู่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการมุ่งสู่Net Zeroโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ (UNISERV)และหัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - เรื่อง “ทศวรรษแห่งการปรับตัว สานกลยุทธ์ธุรกิจสู่ Net Zero” กลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้า และเงื่อนไขตลาดทุนโลกและมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในทศวรรษที่ผ่านมาและในอนาคต โดยนายธีรพงศ์  จันศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)การเสวนา เรื่อง“บทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยกับการพัฒนามหาวิทยาลัย”โดยผู้แทนคณะกรรมการส่งเสริมจากทุกกลุ่มสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนานอกจากนั้น  จะมีการเยี่ยมชมศึกษาดูงานโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย  ฟาร์มมหาวิทยาลัย โรงเรือนไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์  การผลิตกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์  ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และเกษตรอัจฉริยะ Smart Fisheryพร้อมทั้งเยี่ยมชมศึกษาดูงาน  บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)  บริษัท ปลูกผักเพระรักแม่โ จำกัด (มหาชน) (โอ้กะจู๋) และ บริษัท กรีนไดมอนด์ จำกัด (บุญสมฟาร์มสาหร่ายเกลียวทอง)  ซึ่งเป็นภาคีภาคธุรกิจที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้  รวมถึงการศึกษาดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ล้านนา และด้านหัตถกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่น  ดร.วรพงศ์ นันทาภิวัฒน์ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า“ขอเชิญชวนคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทุกท่านเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพราะคณะกรรมการส่งเสริมฯ คือผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจและการศึกษา เราจะได้มีส่วนร่วมในการหารือและหาข้อแนะนำในการที่จะทำให้ประเทศเราบรรลุการเป็นNet Zeroในปี2065ได้” การประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 นอกจากเผยแพร่ภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัย และจังหวัดเชียงใหม่ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจและชุมชนในทุกมิติต่อไป
1 พฤศจิกายน 2567     |      264
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจทางวิชาการด้านสหกิจศึกษาและการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน กับ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีและต้อนรับ นางสาววราพร ละมูลตรี ผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) และคณะ ณ ห้องประชุมพวงเสด สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ สนับสนุน ส่งเสริมด้านการจัดการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน สนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความรู้ ทักษะร่วมกันในการฝึกประสบการณ์ภายใต้การถ่ายทอดความรู้จากสถานการณ์จริง ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการอย่างเป็นระบบ และเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรหลักในการรับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพและฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา
31 ตุลาคม 2567     |      153
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”
วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้   ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้แต่ละรุ่น และนักศึกษา ร่วมรำลึกอธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็นครู”ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่างเป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไปจึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่าการเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้” ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน”อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบัน
30 ตุลาคม 2567     |      161
ภาคเอกชนสนใจปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ของแม่โจ้ ภายใต้การวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจ
     รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในเรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ และเป็นผู้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ในรูปแบบต่าง ๆ จนได้เป็นปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานตามหลักของกรมวิชาการเกษตร และได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ทำให้ภาคเอกชน โดยบริษัท เวิร์ล ทรีส์ แพลนท์ จำกัด ให้ความสนใจสั่งซื้อปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อต่อยอดทางธุรกิจของทางบริษัทฯ ต่อไป     อนึ่ง ทางบริษัทฯและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการทำบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ (MOU) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2566 เพื่อสั่งซื้อปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์จำนวนมาก โดยจะมีศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ผลิต และจัดส่งให้ตามข้อตกลง ความร่วมมือกับทางบริษัทฯ ซึ่งนับเป็นการนำผลผลิตนวัตกรรม จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป
29 ตุลาคม 2567     |      81
ขอเชิญร่วมระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
"...งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน ใครที่ตายเพราะทำงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ ไว้ให้ที่แม่โจ้" อมตะโอวาท ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ชาวแม่โจ้ ร่วม“ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2459 หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477 ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้ เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์ จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484 จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็น “ครู” ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่าง เป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไป จึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่า “การเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้”ตลอดระยะเวลาท่านได้สร้างการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทั้งระบบการปกครอง บุคลากรและนักเรียนแม่โจ้อย่างก้าวกระโดด ท่านได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการ เป็นผู้บุกเบิกและสร้างงานอาชีวเกษตรของประเทศ ริเริ่มกิจกรรม อกท. (องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย) ก่อตั้ง อกท.หน่วยแม่โจ้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึง โครงการเกษตรกรหนุ่มแห่งประเทศไทย (Young Farmers Pilot Project of Thailand : YTF จัดให้มีขึ้นครั้งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยขณะนั้น ท่านร่วมจัดตั้งโครงการหลวงเกษตรภาคเหนือ จัดตั้งและสนับสนุนโครงการอาสาพัฒนาแม่โจ้ นำนักศึกษา อาจารย์ ออกพัฒนาชนบท อึกทั้งยังได้ถวายงานด้านการเกษตรและงานโครงการตามพระราชดำริหลายโครงการ และยังได้ริเริ่มจัดงานเกษตรแม่โจ้ อีกทั้งยังได้ริเริ่มระบบการให้โควตาศึกษาต่อระบบปริญญาตรีที่แม่โจ้ ท่านคือผู้สร้างและพัฒนาให้ “แม่โจ้” เป็นแหล่งความรู้และหล่อหลอมบุคลากรการเกษตรทุกระดับที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2527 บรรดาศิษย์ แม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญา “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบันขอเรียนเชิญคณาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และศิษย์แม่โจ้ทุกรุ่นร่วมงาน “ระลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย” ในวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 07.30 น. เป็นต้นไป ณ ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย หน้าสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมายเหตุ : การแต่งกายชุดพื้นเมือง หรือชุดสุภาพติดต่อจองพวงมาลาได้ที่ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ 053 353140
29 ตุลาคม 2567     |      24
พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ที่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และนายชัยยศ สัมฤทธิ์กุล กรรมการ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด  ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวถึงการสนับสนุนงานวิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์พืชผัก และความเป็นมาของ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชานุมัติให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา โดยศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธุ์เพ็ญศิริ ร่วมกับบริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด ดำเนินการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ จำนวน 19 ชนิด ที่ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชในนามของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปปลูกต่อได้ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรในระบบอินทรีย์อย่างมาก ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้จัดตั้ง บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เพื่อผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อินทรีย์เท่านั้น รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องด้านเกษตรอินทรีย์เมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ทั้ง 19 ชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1, ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1, มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์, พริกขี้หนูปู่เมธ, แตงไทยหอมละมุน, สลัดช่อผกาพัฒนาเอง, พริกพัฒนฉันท์, สลัดสวยงาม, ถั่วฝักยาวเสือเขียว, ถั่วฝักยาวเสือลายพาดกลอน, ถั่วฝักยาวเสือดุ, ถั่วฝักยาวเสือขาว, ถั่วพูของชอบ, สลัดของขวัญ, สลัดขายดี, สลัดรสดี และสลัดคนดีผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Facebook: ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ไลน์ไอดี: @firstorganicseeds (ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์) / E-Mail: 09farm.mju@gmail.com หรือโทร 091 070 5757ราคาซองละ 20 บาทโปรโมชั่นพิเศษ ตั้งแต่วันนี้จนถึงเดือนธันวาคม 2567 “ซื้อ 5 ซอง แถม 1 ซอง” (สินค้ามีจำนวนจำกัดหรือจนกว่าสินค้าจะหมด)ทั้งนี้ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ มอบสมทบมูลนิธิชัยพัฒนาข่าว : มูลนิธิชัยพัฒนา
25 ตุลาคม 2567     |      151
พิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากการแสดงและประกวดผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
ระดับชาติ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรีกาญจนา  คล้ายเรืองคณะวิทยาศาสตร์ ผลงาน : การยับยั้งแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชด้วยอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่สังเคราะห์ โดย BACILLUS VELEZENSIS รหัส (AGR-P36) รองศาสตราจารย์ ดร.นัฐพร ไชยญาติ วิทยาลัยพลังงานทดแทน  ผลงาน : การเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน (ไฟฟ้า ความเย็น และความร้อน) และวัสดุอย่างยั่งยืน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุจลินทร์ ผลจันทร์ และ อาจารย์ ดร.เนตราพร ด้วงสง คณะวิทยาศาสตร์ ผลงาน : นวัตกรรมถ่านชีวภาพดัดแปลงเพื่อการจัดการซากวัสดุเหลือทิ้งจาก  การเกษตรสำหรับพัฒนาชุมชนเกษตรแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ ผลงาน :  - หยิน-หยาง: ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตสำหรับพืชผักสวนครัว             - Bio-SynCap ไบโอซินแคป             - การคัดแยกและคัดเลือกแบคทีเรียที่สามารถสกัดไคโตซานจากขยะเปลือกกุ้ง             - ชีวนวัตกรรมปุ๋ยจากจุลินทรีย์อัดแท่งร่วมกับฝุ่นข้าวโพดอาหารสัตว์ระดับนานาชาติ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยา ดวงธิมาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม The Feasibility Study for a Strong Community Development Guideline : A Case Study of Hua Takae Old Market Community. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Vol.21 Issue 1. 2024 (January-June) รองศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ หวังเจริญคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร Sensory and Chemical Analysis of Low Fat Date Palm Ice cream   อาจารย์มุกริน หนูคงคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร Development of a Low-cost Sensor-based Kit for Analyzing Egg Freshness ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีรววรณ พัชรประกิติ คณะวิทยาศาสตร์ Best Presentation Award ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา  คงจรูญคณะวิทยาศาสตร์ 1) Silver Medal 2) CAI Award from China Association of Inventions (CAI) 3) Special Prize from The First Institute of Researchers and Inventors in I.R. Iran 4) Special Awards from Dindado Center for Research and Innovation 5) Special Awards from Association of Polish Inventors and Rationalizers ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา ราชกิจคณะวิทยาศาสตร์ The First Prize in International Journal on Robotics, Automation and Sciences รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี คงดี อัลเดรดคณะวิทยาศาสตร์ Outstanding Reviewer Winner
24 ตุลาคม 2567     |      149
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมอบนโยบาย ทิศทางการพัฒนา และแนวทางแผนบริหารมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแมโจ้-ชุมพร ปีงบประมาณ พ.ศ.2567-25671 แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
วันอังคารนที่ 22 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมอาคารแม่โจ้ 80 ปี รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี พบปะบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2567 พร้อมกับแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนรองอธิการบดี กำกับดูแล กำกับการบริหารงาน สั่งและปฎิบัติการแทนอธิการบดี ตามกรอบภาระงาน กำกับดูแลมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (ตามคำสั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ 1361/2567)ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้นำเสนอนโยบายและแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัย (พ.ศ.2567-2571) แลกเปลี่ยนและรับฟังปัญหาการปฎิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยเน้นย้ำให้บุคลากรมองเป้าหมายเดียวกัน บูรณาการองค์ความรู้แต่ละสาขาวิชา สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และร่วมกันผลักดันให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มุ่งปฎิบัติงานตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้คือ การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการเกษตรสุขภาวะระดับนานาชาติต่อไปพร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พบปะบุคลากร พร้อมเสนอแนวคิดการปฎิบัติงาน กล่าวคือ ให้บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอก เพื่อดึงศักยภาพของแต่ละบุคคล ใช้กลยุทธิ์ในการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม ใส่ใจโครงสร้างพื้นฐานของทั้งบุคลากรและนักศึกษา ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการประชาสัมพันธ์ อันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในการผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วย “วิชาการ-วิชาชีพ-วิชาชีวิต”อย่างไรก็ดี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ได้พบปะและให้กำลังใจบุคลากรในการขับเคลื่อนและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร คือ “มีทัศนคติที่ดีในการปฎิบัติงาน ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในองค์กร ตลอดจนมองเป้าหมายข้างหน้าไปด้วยกัน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป”
22 ตุลาคม 2567     |      106
คณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย มุ่งสู่ Net Zero 2065
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 “บทบาทคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ Net Zero 2065” ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโรงแรมแชงกรี-ลา จ.เชียงใหม่การประชุมสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมระดมความคิดของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยจาก 148 แห่ง ทั่วประเทศ ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University รวมถึงการปรับตัวสานกลยุทธ์ธุรกิจ สู่ Net Zero เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้าและเงื่อนไขตลาดทุนโลก ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมทั้ง มอบนโยบายที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษ และร่วมเวทีเสวนา ในประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่เรื่อง“มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับการขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero” , ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เรื่อง “Climate Change วิกฤตของโลก และทางออกของเรา” ความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤติโลกร้อน ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมที่จะนำพาโลกสู่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการมุ่งสู่ Net Zero โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ (UNISERV) และหัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เรื่อง “ทศวรรษแห่งการปรับตัว สานกลยุทธ์ธุรกิจสู่ Net Zero” กลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้า และเงื่อนไขตลาดทุนโลกและมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในทศวรรษที่ผ่านมาและในอนาคต โดย นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)การเสวนา เรื่อง “บทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยกับการพัฒนามหาวิทยาลัย” โดยผู้แทนคณะกรรมการส่งเสริมจากทุกกลุ่มสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนานอกจากนั้น จะมีการเยี่ยมชมศึกษาดูงานโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ฟาร์มมหาวิทยาลัย โรงเรือนไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และเกษตรอัจฉริยะ Smart Fishery พร้อมทั้งเยี่ยมชมศึกษาดูงาน บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) บริษัท ปลูกผักเพระรักแม่โ จำกัด (มหาชน) (โอ้กะจู๋) และ บริษัท กรีนไดมอนด์ จำกัด (บุญสมฟาร์มสาหร่ายเกลียวทอง) ซึ่งเป็นภาคีภาคธุรกิจที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมถึงการศึกษาดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ล้านนา และด้านหัตถกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่นดร.วรพงศ์ นันทาภิวัฒน์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “ขอเชิญชวนคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทุกท่านเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพราะคณะกรรมการส่งเสริมฯ คือผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจและการศึกษา เราจะได้มีส่วนร่วมในการหารือและหาข้อแนะนำในการที่จะทำให้ประเทศเราบรรลุการเป็น Net Zero ในปี 2065 ได้”การประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 นอกจากเผยแพร่ภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัย และจังหวัดเชียงใหม่ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจและชุมชนในทุกมิติต่อไป
22 ตุลาคม 2567     |      45
สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ จัดกอล์ฟการกุศล ชิงถ้วยรางวัลนายกรัฐมนตรี
สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้จัดกอล์ฟการกุศลชิงถ้วยรางวัลนายกรัฐมนตรีเชิญชวนศิษย์เก่าแม่โจ้และบุคคลทั่วไปเข้าร่วมการแข่งขันกอล์ฟการกุศลสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมและสนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และเสริมสร้างความสามัคคีก่อเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกและเครือข่ายและบุคคลทั่วไปรูปแบบกิจกรรมการแข่งขันกอล์ฟประเภททีมกิติมศักดิ์ (VIP) อัตราค่าสมัคร50,000บาทต่อทีมและประเภททีมทั่วไปอัตราค่าสมัคร30,000บาทต่อทีมกำหนดการจัดการแข่งขันกอล์ฟในวันศุกร์ที่22พฤศจิกายน2567ณสนามกอล์ฟวินด์เซอร์พาร์คแอนด์กอล์ฟคลับชิงถ้วยรางวัล1.รางวัลชนะเลิศประเภททีมนายกรัฐมนตรีนสแพทองธารชินวัตร2.ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศประเภททีมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายสุรพงษ์ปิยะโชติ3.ถ้วยรางวัลมอบถ้วยรางวัลชนะเลิศประเภทบุลคลA flightและถ้วยรางวัลรองชนะเลิศประเภทบุลคลA flight:รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่1นายพิเชษฐ์เชื้อเมืองพาน4.ถ้วยรางวัลชนะเลิศประเภทบุลคลB flightและถ้วยรางวัลรองชนะเลิศประเภทบุลคลB flight:อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้รศดรวีระพลทองมา5.มอบถ้วยชนะเลิศประเภทบุลคลC flightและถ้วยรองชนะเลิศประเภทบุลคลC flight :นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ดรขุนศรีทองย้อยติดต่อประสานงานและสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน๐คุณภาวินอินธรสโทร. 086-6536954๐คุณชนินทร์ทรงเมฆทร. 083-6595654ติดต่อประสานงานเกี่ยวกับการเงิน๐คุณจันทนาวัฒนลักษณ์โทร. 082-1965495ติดต่อสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้0533531406และ065-4235413ติดตามรายละเอียดและความเคลื่อนไหวกิจกรรมกอล์ฟการกุศลได้ในช่องทางFacebook FAN pagesของสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้MAA
21 ตุลาคม 2567     |      56
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่5/2567 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา
วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567  รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ณ เกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับการจัดอันดับเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอันดับ 4 ของประเทศ และอันดับ 361 ของโลก จากการจัดอันดับพิพิธภัณฑ์โลก (Museum World Ranking)  พร้อมรับชมชุดการแสดง 2 ชุด โดยนิสิตสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์  ในชุดการแสดง  "มวยไทย เมืองลุง"  และชุดการแสดง "กริช ลุ่มเลสาบสงขลา"วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่5/2567 (ทปอ.)  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันพิจารณาปัญหาในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตามโครงสร้างของ ทปอ. อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่เป็นสมาชิก ทปอ.  ณ หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก  ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย/อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดการประชุมฯ และดำเนินการประชุมตามวาระการประชุมฯ  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมประชุมฯ พร้อมทั้งแนะนำคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทักษิณ พร้อมเปิดการประชุมด้วยชุดการแสดงตระการตา ภายใต้ชุดการแสดง Glocalization "จากรากสู่โลก" โดยนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณภาพ :  มหาวิทยาลัยทักษิณ
20 ตุลาคม 2567     |      115
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การขับเคลื่อนการพัฒนาและจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน"
     วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2567 ที่ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้รองศาสตราจารย์  ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การขับเคลื่อนการพัฒนาและจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน" และ รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดี กล่าวรายงาน     ทั้งนี้สภามหาวิทยาลัยได้กำหนดทิศทางและเป้าหมายในการพัฒนามหาวิทยาลัยและได้มีประกาศสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง การกำหนดทิศทางและเป้าหมายของสภามหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568 - 2570) ลงวันที่ 19 กันยายน 2567 โดยทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในส่วนของทิศทางด้านภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ คือ ให้มหาวิทยาลัยได้รับผลประเมินการจัดอันดับ SDGs Impact Ranking ไม่น้อยกว่า 80 คะแนน ภายใน ปี พ.ศ. 2570     มหาวิทยาลัยจึงได้มีนโยบายให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน ทั้ง SDG Impact Ranking Green University และ Healthy University โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืนและคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน เพื่อให้การเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการพัฒนาและจัดอันดับมหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสามารถขับเคลื่อนการดำเนินให้บรรลุตามเป้าหมายตามทิศทาง ด้านภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดไว้
16 ตุลาคม 2567     |      113
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ the Faculty of Animal Science, Universitas Brawijaya ประเทศอินโดนีเซีย ลงนามการดำเนินงานการแลกเปลี่ยนนักศึกษา (IA) ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสัตวศาสตร์
วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และคณาจารย์ เข้าร่วมต้อนรับคณาจารย์จากประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 3 ท่าน ดังนี้ 1) Dr. Eko Nugroho 2) Dr. Adelina Ari Hamiyati 3) Dr. Heli Tistiana พร้อมทั้งร่วมลงนามการดำเนินงานการแลกเปลี่ยนนักศึกษา (IA) ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ระหว่างคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ the Faculty of Animal Science, Universitas Brawijaya ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ได้ร่วมหารือเกี่ยวกับการเรียนการสอน งานวิจัยและบริการวิชาการ สหกิจศึกษาและการฝึกงานต่างประเทศ และบริการวิชาการและวิจัย ณ ห้องประชุม 2209 อาคารศูนย์สัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
15 ตุลาคม 2567     |      75
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องในวันนวมินทรมหาราช ประจำปี 2567 น้อมรำลึกถึงวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2567  รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดี  เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “วันนวมินทรมหาราช” โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานในพิธี  ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ในการนี้ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานในพิธี ได้นำทุกภาคส่วนประกอบพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ และทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล โดยมี พระเทพปริยัติ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 7 เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง นำพระสงฆ์และสามเณร จำนวน 89 รูป ออกรับบิณฑบาตจากประชาชน จากนั้น ได้นำส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะ กล่าวถวายราชสดุดี และยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 89 วินาที เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่า ได้ร่วมกันน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยตลอดมา ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี ได้กำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม 2567 เป็นวันแห่งการเสด็จสวรรคตครบ 8 ปี หรือเรียกว่า “สัตตมวรรษ” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า “วันนวมินทรมหาราช” ซึ่งตรงกับวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี
13 ตุลาคม 2567     |      85
กิจกรรม BA Brand Ambassadors 2024 รอบ GRAND OPENING THE CONTESTANTS
วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 สโมสรนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ จัดกิจกรรม BA Brand Ambassadors 2024 รอบ GRAND OPENING THE CONTESTANTS โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงออกถึงศักยภาพของตนเองในเวทีที่เหมาะสม และเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านสติปัญญา และฝึกความกล้าแสดงออกของนักศึกษา ทั้งนี้ขอขอบพระคุณ คุณ กัญจน์ฐพัทร สุรินต๊ะ ผู้บริหาร Now Clinic (ประธานกรรมการตัดสิน), คุณณัฐณกรณ์ จอมจันทร์ยอง ผู้บริหาร K.A Organizer City Director นางสาวไทย จังหวัดพะเยา, คุณ กันตพัฒน์ โยธา ผู้บริหาร บริษัท พีเค แอคเคาน์ติ้ง (2021) จำกัด, คุณนภาพร อวุงชี ผู้บริหาร ร้านชาวดอยเดรส (CHAO DOI DRESS) และตัวแทนจากมูลนิธิ MPLUS THAILAND ที่ให้เกียรติมาร่วมตัดสินกิจกรรมในกิจกรรม BA Brand Ambassadors 2024 รอบ GRAND OPENING THE CONTESTANTS ในครั้งนี้ ณ ลานกิจกรรม คณะบริหารธุรกิจ
11 ตุลาคม 2567     |      86
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมงานวันเฉลิมฉลองครบรอบวันชาติ สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) 113 ปี ณ กรุงเทพมหานคร
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 ที่ห้องบอลรูม โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพมหานคร รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย อาจารย์ ดร. วินิตรา ลีละพัฒนา รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองวันชาติสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ครบรอบ 113 ปี จัดขึ้นโดย สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย โดยมีนายจางจวิ้นฝู ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดงาน
10 ตุลาคม 2567     |      86
ภาพบรรยากาศ #สัตวศาสตร์จิตอาสา พัฒนาพื้นที่หลังอุทกภัย "Big Cleaning Day" เชียงใหม่ ล้างทำความสะอาดพื้นถนนแยกสะพานนครพิงค์ ถึงแยกจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และถนนหน้าโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่
วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวให้โอวาทกับนักศึกษาจิตอาสา และบุคลากรจิตอาสา คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีความปลอดภัยขณะปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือชาวเชียงใหม่ และทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกเป็นการสร้างเครือข่ายงานด้านบรรเทาสาธารณภัยให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และกล่าวขอบคุณ โดยในการปฏิบัติงานในครั้งนี้มี อาจารย์ ดร.สุภารักษ์ คำพุฒ, อาจารย์ ดร.กรรณิกา ฮามประคร และนายครรชิต ชมภูพันธ์ เป็นผู้ควบคุมดูแลนักศึกษาสัตวศาสตร์จิตอาสาในครั้งนี้
10 ตุลาคม 2567     |      78
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ประจำปี 2567
วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567 ที่ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อการจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ประจำปี 2567 โดยมี นางอรุณี ไฮม์ม รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นประธานการประชุมดังกล่าวโดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนาแก่รัฐบาลภูฏานภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ภูฏาน ระยะ 3 ปี อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งในปี 2567 นี้ ฝ่ายไทยและภูฏานจะร่วมจัดการประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย_ภูฏาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือ ทบทวน และติดตามความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยและภูฏานในปัจจุบันทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาให้แก่ภูฏานในปี 2567-2570 เพื่อส่งเสริมแโดยละพัฒนาทักษะของบุคลากรภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ราชอาณาจักรภูฏาน โดยการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับการศึกษาระดับปริญญาโท (Full scholarship) จำนวน 15 ทุน และการพัฒนาบุคลากรโดยการจัดฝึกอบรมระยะสั้น 5 หลักสูตร จำนวน 63 ทุน
9 ตุลาคม 2567     |      99
พิธีลงนามความร่วมมือด้านวิชาการคณะสัตวแพทยศาสตร์กับโรงเรียนสันทรายวิทยาคม
วันที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 13.30 น. คณะสัตวแพทยศาสตร์ โดย รักษาการแทนคณบดี(รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วศิน เจริญตัณธนกุล) พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากร ให้การต้อนรับ ผู้อำนวยการโรงเรียนสันทรายวิทยาคม(นายนิกร แก้วคำดี) พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการและคณะครู ร่วมในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ด้านวิชาการ การฝึกประสบการณ์นักเรียน การแลกเปลี่ยนบุคลากรให้ความรู้ และการจัดกิจกรรมวิชาการร่วมกัน และส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ด้านต่างๆ ของคณะ ณ คลินิกรักษาสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
9 ตุลาคม 2567     |      54
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท อี เอส วิจัยและพัฒนา จำกัด หารือความร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนา
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2567 (10.30 น.)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย  ให้การต้อนรับคณะผู้บริหาร บริษัท อี เอส วิจัยและพัฒนา จำกัด  ในการเข้าร่วมหารือความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาจนโครงการประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งโครงการวิจัยน้ำตาลเพื่อสุขภาพ โครงการวิจัยอาหารสัตว์จากครีมยีสต์ ตลอดจนโครงการอื่นๆ ที่จะได้รับความร่วมมือในอนาคต
7 ตุลาคม 2567     |      109
นักศึกษแม่โจ้ จิตอาสารวมพล ลุยพื้นที่น้ำท่วมร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจุดต่างๆ ใน จ.เชียงใหม่
วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2567 นักศึกษาคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลุยพื้นที่น้ำท่วมร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกตามจุดต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคณาจารย์ บุคลากร ทีมงานจิตอาสาคอยอำนวยความสะดวก ได้แก่- ทีมคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และ นักศึกษาวิชาทหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาช่วยปฏิบัติงานโรงครัว ร่วมกับมูลนิธิร่วมกตัญญู ณ วัดศรีล้อม อ.หางดง จัดเตรียมอาหารเตรียมแจกจ่าย โดยมี รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ อาจารย์ และ ประเสริฐ ประสงค์ผล นักวิชาการประมง คอยดูแล- ทีมวิทยาลัยบริหารศาสตร์ และ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมสนับสนุนการประกอบอาหารและบรรจุอาหารใส่ภาชนะในการบรรเทาและเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ณ เชียงใหม่ 89 พลาซ่า โดยมีอาจารย์ ดร.พิชญ์ จิตต์ภักดี รองคณบดี วิทยาลัยบริหารศาสตร์, อาจารย์ ดร.ปิยะพันธ์ นันตา และ อาจารย์อาภาลัย สุขสำราญ รองคณบดี คณะศิลปศาสตร์ คอยอำนวยการร่วมกับทางตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่และได้แยกกลุ่มลงพื้นที่ช่วยเหลือ ณ มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนำของใช้ที่จำเป็นไปมอบให้คนและสัตว์เลี้ยงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมและช่วยเหลือในการขนของและจัดของที่มีผู้นำมาบริจาค ทำความสะอาดบริเวณ พร้อมทั้งทำความสะอาดพื้นที่ โดยมี อาจารย์นารีวรรณ กลิ่นรัตน์ รองคณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ คอยดูแล- สาขาการส่งเสริมและสื่อสารเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร ร่วมกับชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำอาหารพร้อมทานและน้ำดื่มมอบให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตำบลสันผีเสื้อ หมู่7หมู่ 9 และพื้นที่ใกล้เคียง- ทีมองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็นสะพานบุญในการส่งมอบของบริจาคจากผู้ที่ร่วมสนับสนุนที่ผ่าน นำข้าวสารพร้อมน้ำดื่มไปบริจาค ณ วัดลัฏฐิวัน (วัดพระนอนขอนตาล)เทศบาลตำบลแม่ริม บ้านขอนตาล 11 ต.ริมใต้ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่- นักศึกษาวิชาทหาร จิตอาสากองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมสมทบกำลังกับ มูลนิธิสว่างสำเร็จเชียงใหม่ เข้าช่วยเหลือประชาชนในเขตพื้นที่น้ำท่วม บริเวณทุ่งโฮเต็ล อาเขต โรงพยาบาลแมคคอร์มิค และละแวกใกล้เคียง โดยช่วยนำส่งน้ำอาหารให้แก่ประชาชนที่ออกมาไม่ได้และนำประชาชนออกจากพื้นที่อันตรายนำส่งพื้นที่ปลอดภัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอแสดงความห่วงใยและเป็นกำลังใจให้ทุกภาคส่วนให้สามารถผ่านสถานการณ์ครั้งนี้ไปได้ด้วยดีภาพ : วิทยาลัยบริหารศาสตร์ , คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ , องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ , คณะศิลปศาสตร์
7 ตุลาคม 2567     |      46
ข่าวสารรอบเวียงเจียงใหม่ : ”อนุทิน“ นั่งเรือลุยน้ำที่เชียงใหม่ แจกข้าวและถุงยังชีพให้ประชาชน เผยกำลังใจชาวบ้านยังดี ขอบคุณทีมเชียงใหม่ทุกคน
วันนี้ (5 ต.ค. 67) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและเยี่ยมให้กำลังใจพี่น้องประชาชนที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมติดตามลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วยโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ได้นั่งเรือจากบริเวณเชิงสะพานภาค 5 ไปถวายถุงยังชีพให้แด่เจ้าอาวาสวัดป่าพร้าวนอก และลูกบ้าน บ้านป่าพร้าวนอก ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ และได้นั่งเรือไปตามหมู่บ้านป่าพร้าวนอก ผ่านไปยังถนนช้างคลาน อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เยี่ยมเยือนทักทายประชาชนที่ยังอาศัยอยู่ในบ้าน พร้อมกับได้มอบถุงยังชีพ น้ำดื่ม และอาหารให้กับประชาชน โดยในพื้นที่ดังกล่าวมีระดับน้ำค่อนข้างสูงกว่า 1.8 เมตร และน้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว จึงต้องใช้วิธีการมัดสิ่งของด้วยเชือกแล้วส่งให้ชาวบ้านซึ่งชาวบ้านที่มีบ้านสองชั้นยังคงอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว โดยอพยพขึ้นไปพักอาศัยอยู่บนชั้นสองของบ้าน ส่วนบ้านเดี่ยวหนึ่งชั้นส่วนใหญ่ชาวบ้านจะอพยพออกไปพักอาศัยในพื้นที่ที่ปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว การใช้ชีวิตยังคงเป็นไปด้วยความยากลำบากแต่ประชาชนยังคงมีรอยยิ้ม มีกำลังใจที่เข้มแข็งที่จะต่อสู้กับสภาวะวิกฤตนี้ภายหลังจากลงพื้นที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่และทีมเชียงใหม่ทุกหน่วยงาน มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์เป็นอย่างดี ซึ่งจากการลงพื้นที่ ได้สอบถามกับชาวบ้านว่าสามารถอยู่ได้ โดยมีทางจังหวัดและเทศบาลนครเชียงใหม่คอยส่งอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของจำเป็น เข้ามาให้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งคาดว่ามวลน้ำที่ได้ทะลักเข้ามาท่วมบ้านเรือนของประชาชนเมื่อคืนที่ผ่านมาจะเป็นมวลน้ำก้อนสุดท้ายในช่วงฤดูฝนนี้แล้ว โดยมวลน้ำทั้งหมดที่ได้ไหลผ่านจังหวัดเชียงใหม่จะสิ้นสุดยังเขื่อนภูมิพล แต่เนื่องด้วยขณะนี้มีน้ำจำนวนมากทำให้การระบายน้ำอาจจะมีความล่าช้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ระดมสรรพกำลังจากทุกหน่วยงาน ทั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว คาดว่าอีก 3-5 วันสถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายลง ในส่วนการดูแลประชาชนมั่นใจว่าจังหวัดเชียงใหม่และทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน จะดูแลประชาชนอย่างเต็มที่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่5 ตุลาคม 2567
5 ตุลาคม 2567     |      43
ข่าวสารรอบเวียงเจียงใหม่ : นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายชัยณรงค์ นันตาสาย นายอำเภอแม่แตง บูรณาการร่วมกับหมวดการทางแม่แตง อบต.ป่าแป๋ กำนันผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง,สภ.ป่าแป๋, กู้ชีพกู้ภัย อบต.ป่าแป๋, กู้ชีพอบต.สบเปิง ได้ช่วยกันนำส่งผู้ป่วยจาก ตำบลป่าแป๋ โดยใช้แรงงานคนยกคนป่วยข้ามจุดดินสไลด์เส้นทาง 1095 แม่มาลัย-ปาย และส่งต่อรถกู้ชีพและรถพยาบาลได้ปลอดภัย ไปรักษาตัวที่ โรงพยาบาลแม่แตงเป็นที่เรียบร้อย
วันนี้ (4 ต.ค. 67) นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายชัยณรงค์ นันตาสาย นายอำเภอแม่แตง บูรณาการร่วมกับหมวดการทางแม่แตง อบต.ป่าแป๋ กำนันผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง,สภ.ป่าแป๋,  กู้ชีพกู้ภัย อบต.ป่าแป๋, กู้ชีพอบต.สบเปิง ได้ช่วยกันนำส่งผู้ป่วยจาก ตำบลป่าแป๋ โดยใช้แรงงานคนยกคนป่วยข้ามจุดดินสไลด์เส้นทาง 1095 แม่มาลัย-ปาย  และส่งต่อรถกู้ชีพและรถพยาบาลได้ปลอดภัย ไปรักษาตัวที่ โรงพยาบาลแม่แตงเป็นที่เรียบร้อย
4 ตุลาคม 2567     |      59
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration” ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์กรุงเทพฯ
ในระหว่างวันที่ 3-4 ตุลาคม 2567 ที่โรงแรมอโนมา แกรนด์กรุงเทพฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี  นางสาวกวิสรา แก้ววิทยาลาภ นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือไทย - อินโดนีเซีย ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 (The 15th CUPT-CRISU Conference 2024) ภายใต้หัวข้อ “Charting the Path to Sustainable Universities: A Holistic Approach to ESG Integration” ซึ่งการจัดประชุมดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจในการบูรณาการหลักการ E (Environment) S (Social) G (Governance) เข้ากับชุมชนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นอธิการบดี คณบดี ผู้บริหาร และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยสมาชิกของทั้ง 2 ประเทศ
3 ตุลาคม 2567     |      109
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมฉลองครบรอบ 20 ปี ของรายการเสียงแห่งความสุข Happy Voice
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมฉลองครบรอบ 20 ปีของรายการเสียงแห่งความสุข Happy Voiceซึ่งจัดโดยสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทยโดยสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย ได้เริ่มจัดรายการ Happy Voice ออนแอร์ครั้งแรกที่สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2547 เป็นต้นมา โดยมีเนื้อหาให้กำลังใจและส่งเสริมการเห็นคุณค่าของชีวิตที่งดงามในหลากหลายมิติ ตามแนวทางที่ ศ.ดร.ไดซาขุ อิเคดะ ประธานของสมาคมสร้างคุณค่าสากล ได้ตั้งปณิธานไว้ซึ่งมียุวชนชาย-หญิง ได้เข้าร่วมจัดรายการที่สถานีวิทยุมห่วิทยาลัยแม่โจ้ จนก้าวเข้าสู่ปีที่ 20โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ศ.เกียรติคุณ ดร.เทพ พงษ์พานิช ประธานคณะกรรมการบริหารสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้และ ศ.ดร.อานัฐ ตันโช หัวหน้าสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้พร้อมบุคลากรสถานีวิทยุฯ ร่วมยินดีในครั้งนี้โดยท่านที่สนใจรับฟังรายการเพื่อกำลังใจทุกๆวันอาทิตย์ เวลา 13.00 - 14.00 น.ทาง MJU RADIO สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ FM 95.50 MHz
2 ตุลาคม 2567     |      103
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอแสดงความยินดีกับคณะผู้บริหารใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "รักษาการแทนรองอธิการบดี" ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล คณบดีวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "รักษาการแทนรองอธิการบดี" ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน 2567 อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน 2567
1 ตุลาคม 2567     |      2527