MJU RADIO FM 95.50 MHz
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : วิทยุบริการสาธารณะ

 

                   

.

ข่าวกิจกรรม

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร อว.ส่วนหน้า จังหวัดชุมพร ให้การต้อนรับนางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขารมว. อว. และคณะ ในการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดชุมพร
วันที่ 20 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อว.ส่วนหน้า จังหวัดชุมพร โดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี คณะผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ให้การต้อนรับนางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ นายเมธี ลิมนิยกุล ผู้อำนวยการกลุ่มประสานเครือข่าย อว. ในภูมิภาค (กปว.) และคณะ ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชุมพร ณ ศาลาธรรมวัดท่าสุธาราม บ้านท่า หมู่ที่ 2 ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร โดยมีนายสมเจตร์ เจริญทรง นายอำเภอทุ่งตะโก รายงานภาพรวมความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ในการนี้ สาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ ได้มอบส่งของบริจาค (เครื่องอุปโภคและบริโภค) ให้กับผู้ประสบอุทกภัย พบปะให้กำลังใจในการพื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด และลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 1 ราย นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากพร้อมกันนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ลงพื้นที่ติดตั้งเครื่องกรองน้ำชุมชน เพื่อดูแลระบบน้ำดื่มสะอาดปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ด้วยอย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในฐานะ อว.ส่วนหน้าจังหวัดชุมพร ได้ลงพื้นที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักศึกษาในพื้นที่ ในการติดตามผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย พร้อมกับรายงานไปยังกระทรวง อว. จนนำไปสู่การช่วยเหลือฟื้นฟูต่อไปข่าว : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
20 ธันวาคม 2567
พิธิปิดโครงการ "Agriculture Sustainability and Culture Exchage" นักศึกษาแลกเปลี่ยนต่างประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เป็นประธานในพิธีปิดพร้อมทั้งมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ "Agriculture Sustainability and Culture Exchage" โดยวิทยาลัยนานาชาติได้ลงนามความร่วมมือกับ International Sustainable Development Studies Institute (ISDSI) เพื่อเป็นการส่งเสริมและแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่างประเทศเข้าร่วมเรียนและศึกษาข้ามวัฒนธรรม รวมถึงการเรียนรู้เส้นทางท่องเที่ยว จำนวน 41 คน โดยในพิธี มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ TOURISM: CHALLENGES IN SUSTAINING IDENTITY AND RURAL REGENERATION โดย Professor Dr.Levita A. Duhaylungsod จากSchool of Environmental Science and Management, University of the Philippines Los Baños ณ ห้องสโลป PT 106  ชั้น1 อาคารพืชศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผลิตกรรมการเกษตร
19 ธันวาคม 2567
พิธีเปิดงานประชุมงานประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2567 “การเกษตรสุขอัจฉริยะ” Intelligent Well-being Agriculture (IWA) ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2567 “การเกษตรสุขอัจฉริยะ” การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี (Intelligent Well-being Agriculture (IWA)) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งภายในงานมีเสวนาทางวิชาการ และนำเสนอผลงานทางวิชาการ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้#เสวนาทางวิชาการ เรื่อง “เมืองสุขภาพดี ที่เป็นมิตรกับทุกคน”วิทยากรผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดีอาจารย์ ดร.ขนิษฐา วิศิษฏ์เจริญศูนย์ความเป็นเลิศด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (UDEx) มหาวิทยาลัยแม่โจ้วิทยากรและผู้ดำเนินรายการผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหมประธานเครือข่ายศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน ภูมิภาคเหนือ (UDC Northern)#การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ได้แก่ ผลงานวิจัยกลุ่ม...เกษตรอัจฉริยะและเกษตรอินทรีย์ความหลากหลายทางชีวภาพเทคโนโลยีการเกษตร
19 ธันวาคม 2567
วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับภาคเอกชน (บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด , บริษัท ลานนาโซลาร์ เอ็นเนอร์จี จำกัด , บริษัท เอสล่าร์ไทย วิศวกรรม จำกัด) เสริมทักษะนักศึกษาด้านพลังงาน
วันนี้ (18 ธ.ค. 67) ดร.วัชรินทร์ บุญฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย และบรรยายพิเศษ “แผนพลังงานแห่งชาติ 2024 กับทิศทางการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทย” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงาน และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนบริษัททางด้านพลังงาน ผู้บริหารหัวหน้าส่วนงานจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นโรงงานต้นแบบแห่งแรกในสถานศึกษาและส่วนราชการ ซึ่งสามารถผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งงานทางการเกษตร การใช้งานตกแต่งสถานที่ และการใช้ประโยชย์ในชีวิตประจำวัน เช่น การนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาโรงเรือนผลิตพืช ช่วยประหยัดพื้นที่ ลดต้นทุนให้เกษตรกร และที่สำคัญคือเป็นสถานฝึกประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ปฏิบัติจริง พัฒนางานวิจัยของนักศึกษาในทุกระดับเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและความก้าวหน้าของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้น ยังเป็นแนวทางในการสร้างรายได้ระหว่างเรียนให้แก่นักศึกษาด้วยการรับผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ตามวัตถุประสงค์ และการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมด้านการติดตั้งและผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการสร้างราย พร้อมนำมาต่อยอดพัฒนาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ของโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้มีงบประมาณหมุนเวียนในการซ่อมบำรุงและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในลักษณะพี่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ ภายในงานได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด , บริษัทลานนาโซลาร์ เอ็นเนอร์จี จำกัด และ บริษัท เอสล่าร์ไทย วิศวกรรม จำกัด เพื่อร่วมสนับสนุนด้านวิชาการเป็นแหล่งฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพิ่มโอกาสในการได้งานทำของนักศึกษา รวมถึงการพัฒนาการวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ขยายผลจากงานวิจัยสู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสร้างโอกาสในการขยายผลของเทคโนโลยี วิจัยจากหิ้งสู่ห้าง นอกจากนั้น บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด ได้มอบเครื่อง Solar simulator เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย ให้แก่วิทยาลัยพลังงานทดแทน อีกด้วย สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่.
18 ธันวาคม 2567
วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีเปิดโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในมหาวิทยาลัย "แห่งแรกของประเทศไทย
วันนี้ (18 ธ.ค. 67) ดร.วัชรินทร์ บุญฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย และบรรยายพิเศษ “แผนพลังงานแห่งชาติ 2024 กับทิศทางการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทย” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงาน และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนบริษัททางด้านพลังงาน ผู้บริหารหัวหน้าส่วนงานจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นโรงงานต้นแบบแห่งแรกในสถานศึกษาและส่วนราชการ ซึ่งสามารถผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งงานทางการเกษตร การใช้งานตกแต่งสถานที่ และการใช้ประโยชย์ในชีวิตประจำวัน เช่น การนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาโรงเรือนผลิตพืช ช่วยประหยัดพื้นที่ ลดต้นทุนให้เกษตรกร และที่สำคัญคือเป็นสถานฝึกประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ปฏิบัติจริง พัฒนางานวิจัยของนักศึกษาในทุกระดับเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและความก้าวหน้าของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้น ยังเป็นแนวทางในการสร้างรายได้ระหว่างเรียนให้แก่นักศึกษาด้วยการรับผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ตามวัตถุประสงค์ และการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมด้านการติดตั้งและผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการสร้างราย พร้อมนำมาต่อยอดพัฒนาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ของโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้มีงบประมาณหมุนเวียนในการซ่อมบำรุงและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในลักษณะพี่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ ภายในงานได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด , บริษัทลานนาโซลาร์ เอ็นเนอร์จี จำกัด และ บริษัท เอสล่าร์ไทย วิศวกรรม จำกัด เพื่อร่วมสนับสนุนด้านวิชาการเป็นแหล่งฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพิ่มโอกาสในการได้งานทำของนักศึกษา รวมถึงการพัฒนาการวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ขยายผลจากงานวิจัยสู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสร้างโอกาสในการขยายผลของเทคโนโลยี วิจัยจากหิ้งสู่ห้าง นอกจากนั้น บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด ได้มอบเครื่อง Solar simulator เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย ให้แก่วิทยาลัยพลังงานทดแทน อีกด้วย สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่.
18 ธันวาคม 2567

ข่าวประชาสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร อว.ส่วนหน้า จังหวัดชุมพร ให้การต้อนรับนางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขารมว. อว. และคณะ ในการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดชุมพร
วันที่ 20 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อว.ส่วนหน้า จังหวัดชุมพร โดยอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี คณะผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ให้การต้อนรับนางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ นายเมธี ลิมนิยกุล ผู้อำนวยการกลุ่มประสานเครือข่าย อว. ในภูมิภาค (กปว.) และคณะ ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชุมพร ณ ศาลาธรรมวัดท่าสุธาราม บ้านท่า หมู่ที่ 2 ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร โดยมีนายสมเจตร์ เจริญทรง นายอำเภอทุ่งตะโก รายงานภาพรวมความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ในการนี้ สาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ ได้มอบส่งของบริจาค (เครื่องอุปโภคและบริโภค) ให้กับผู้ประสบอุทกภัย พบปะให้กำลังใจในการพื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด และลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 1 ราย นับว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากพร้อมกันนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ลงพื้นที่ติดตั้งเครื่องกรองน้ำชุมชน เพื่อดูแลระบบน้ำดื่มสะอาดปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ด้วยอย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ในฐานะ อว.ส่วนหน้าจังหวัดชุมพร ได้ลงพื้นที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักศึกษาในพื้นที่ ในการติดตามผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย พร้อมกับรายงานไปยังกระทรวง อว. จนนำไปสู่การช่วยเหลือฟื้นฟูต่อไปข่าว : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
20 ธันวาคม 2567
ม.แม่โจ้ เปิดโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์แห่งแรกในมหาวิทยาลัยไทย พร้อมลงนาม MOU ร่วมกับภาคเอกชนพัฒนางานวิจัยสู่การพัฒนานวัตกรรมให้บัณฑิตด้านพลังงานทดแทน
วันนี้ (18 ธ.ค. 67) ดร.วัชรินทร์ บุญฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย และบรรยายพิเศษ “แผนพลังงานแห่งชาติ 2024 กับทิศทางการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทย” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงาน และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนบริษัททางด้านพลังงาน ผู้บริหารหัวหน้าส่วนงานจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นโรงงานต้นแบบแห่งแรกในสถานศึกษาและส่วนราชการ ซึ่งสามารถผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งงานทางการเกษตร การใช้งานตกแต่งสถานที่ และการใช้ประโยชย์ในชีวิตประจำวัน เช่น การนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาโรงเรือนผลิตพืช ช่วยประหยัดพื้นที่ ลดต้นทุนให้เกษตรกร และที่สำคัญคือเป็นสถานฝึกประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ปฏิบัติจริง พัฒนางานวิจัยของนักศึกษาในทุกระดับเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและความก้าวหน้าของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้น ยังเป็นแนวทางในการสร้างรายได้ระหว่างเรียนให้แก่นักศึกษาด้วยการรับผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ตามวัตถุประสงค์ และการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมด้านการติดตั้งและผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อการสร้างราย พร้อมนำมาต่อยอดพัฒนาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ของโรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้มีงบประมาณหมุนเวียนในการซ่อมบำรุงและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในลักษณะพี่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ ภายในงานได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด , บริษัทลานนาโซลาร์ เอ็นเนอร์จี จำกัด และ บริษัท เอสล่าร์ไทย วิศวกรรม จำกัด เพื่อร่วมสนับสนุนด้านวิชาการเป็นแหล่งฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพิ่มโอกาสในการได้งานทำของนักศึกษา รวมถึงการพัฒนาการวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ขยายผลจากงานวิจัยสู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสร้างโอกาสในการขยายผลของเทคโนโลยี วิจัยจากหิ้งสู่ห้าง นอกจากนั้น บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด ได้มอบเครื่อง Solar simulator เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย ให้แก่วิทยาลัยพลังงานทดแทน อีกด้วย สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่...ภาพ/ข่าว 18 ธันวาคม 2567
18 ธันวาคม 2567
MJU RADIO NEWS : นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ครั้งที่ 1/2567 ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมในการต้อนรับ
นายกฯ “อิ๊งค์” นั่งหัวโต๊ะประประชุม ครม.สัญจรเชียงใหม่ วันนี้ (29 พ.ย. 67) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ครั้งที่ 1/2567 ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมในการต้อนรับ โดยวันนี้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทุกคนได้สวมเสื้อผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติด้วยครั่ง ที่ย้อมออกมาเป็นสีชมพูบานเย็น สีประจํามณฑลพายัพ แต่งแถบปักลายชาติพันธ์ุ ลายปักหงส์ในโคม ซึ่งเป็นลายประจำของจังหวัดเชียงใหม่ ลายปักพระราชทาน “ลายสิริวชิราภรณ์“ และลาย ”ดอกรักราชกัญญา“ และลายปักดอกไม้ ที่สำคัญคือทําการทอและย้อมโดยผู้ผลิต ผู้ประกอบ OTOP 5 ดาวกลุ่มอาชีพผ้าฝ้ายอําพัน อําเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้น นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมนิทรรศการภาพรวมการดำเนินงานของจังหวัดเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายที่ผลิตจากชุมชนสินค้าเกษตรและสินค้า OTOP ของจังหวัด และรับดอกกุหลาบสีแดงจากกลุ่มนักศึกษาคณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่มารอต้อนรับก่อนเดินขึ้นไปประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี ภายในหอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำหรับประเด็นพิจารณาหารือในที่ประชุมที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดเชียงใหม่ จะเป็นเรื่องที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ได้เห็นชอบในหลักการโครงการเร่งด่วนที่นำมาแก้ไขปัญหาต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย วงเงินทั้งหมด 19,282 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่แก้ปัญหาอุทกภัย ทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ของบประมาณในการแก้ไขปัญหาถนนที่พังหลังได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยน้ำท่วม ส่วนโครงการที่แก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ขออนุมัติจัดทำโครงการด้านการพัฒนาและปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัย วงเงินประมาณ 5,200 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาโครงการที่ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ยื่นเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งเกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ล่าสุดได้ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมเรียบร้อยแล้ว และจะมีการหารือถึงแนวทางปฏิบัติและการจัดสรรงบประมาณลงมาให้การช่วยเหลือในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคเหนือต่อไป สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่
29 พฤศจิกายน 2567
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เตรียมเปิดบ้านต้อนรับ การแข่งขันมวยสากลชิงชนะเลิศแห่งทวีปเอเชีย ประจำปี 2567 ASBC Asian Elite Men and Women Boxing Championships Chiangmai - Thailand 2024
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เตรียมเปิดบ้านต้อนรับการแข่งขันมวยสากลชิงชนะเลิศแห่งทวีปเอเชีย ประจำปี 2567ASBC Asian Elite Men and Women Boxing Championships Chiangmai - Thailand 2024วันที่ 30 พฤศจิกายน – 11 ธันวาคม 2567 ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่รุ่นน้ำหนัก ชาย 13 รุ่น หญิง 12 รุ่น นักกีฬาที่เข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 21 ประเทศ ได้แก่ อุซเบกิซสถาน คาซัคสถาน จีน เวียดนาม อัฟกานิสถาน คูเวต ไต้หวัน ไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย กาตาร์ ยูเครน ซีเรีย กัมพูชา เติร์กเมนิสถาน ปาเลสไตน์ เนปาล ศรีลังกา มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ คีร์กีซสถาน รวมนักกีฬา 210 คน เป็นนักกีฬาชาย 129 คน นักกีฬาหญิง 80 คนกำหนดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่จัดโดย คณะกรรมการสมาคมกีฬามวยสากลแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์มวยสากลเอเชีย (ASBC)#ผู้สนใจเข้าชมฟรีตลอดรายการ
26 พฤศจิกายน 2567
มูลนิธิโครงการหลวงแถลงข่าวจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ และ งานโครงการหลวง 2567 “Hats on Hills: ห่มเขาด้วยเงาไม้ ใต้ร่มพระบารมี 55 ปี โครงการหลวง” จัดขึ้นในวันที่ 1-10 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี เลขาธิการ และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ กรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) และ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการเชียงใหม่ แถลงข่าวการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “จากการพัฒนาทางเลือกมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาทางเลือก เพื่อรับมือการท้าทายทุกประเด็นของโลก” และ งานโครงการหลวง 2567 “Hats on Hills: ห่มเขาด้วยเงาไม้ ใต้ร่มพระบารมี 55 ปี โครงการหลวง” ณ อาคารริมน้ำ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่โดยทั้งสองกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโครงการหลวง เผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระบรมราโชบาย สืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการก่อตั้งโครงการหลวงจนเกิดผลสำเร็จ แก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติดการประชุมวิชาการนานาชาตินี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ถึง 4 ธันวาคม 2567 เพื่อนำผลสำเร็จจากการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่สูงด้วยรูปแบบการพัฒนาทางเลือกแบบโครงการหลวง เผยแพร่ให้เป็นที่รับรู้ และเกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง รวมทั้งใช้โอกาสในการประสานพลังความร่วมมือกับหน่วยงานที่ดำเนินการพัฒนาพื้นที่สูงในประเทศไทย และนานาประเทศ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนในการสร้างพลังของการพัฒนาทางเลือกเพื่อรับมือกับความท้าทายของโลกปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและนานาประเทศสามารถเดินทางไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ทั้ง 17 ข้อ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศ ตอบรับเข้าร่วมการประชุมแล้ว 29 ประเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาในประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมอีกกว่า 300 คน ผู้ร่วมประชุมทั้งหมดจะได้เดินทางไปเรียนรู้ในพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในแง่มุมที่แตกต่าง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงป่าแป๋ ในช่วงเวลาและสถานที่เดียวกันนี้ มูลนิธิโครงการหลวงยังมีจัดงานโครงการหลวง 2567 โดยปีนี้ได้ขยายเวลาขึ้นเป็น 10 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 10 ธันวาคม 2567 ภายใต้แนวคิด “Hats on Hills ห่มเขาด้วยเงาไม้ ใต้ร่มพระบารมี 55 ปี โครงการหลวง” ผลการพัฒนาพื้นที่สูงด้วยพระบารมีปกเกล้า ชุมชนที่สูงจึงมีชีวิตใหม่ที่มีสุข ร่มเย็น ขุนเขาฟื้นความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารสำคัญของประเทศ ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของทั้งสองรัชกาล สร้างประโยชน์สุขทั้งแก่ชาวเขา ชาวเรา และชาวโลก กิจกรรมที่นำมาจัดแสดงภายในงานมีทั้งนิทรรศการแสดงผลสัมฤทธิ์การพัฒนาพื้นที่สูงของประเทศไทย : สู่ความท้าทายโลก พร้อมการจัดตกแต่ง ประดับประดาพื้นที่อย่างสวยงามด้วยพืชผลที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา สอดแทรกด้วยสาระความรู้ ความสนุกเพลิดเพลิน ผ่านกิจกรรมฐานเรียนรู้ ที่ได้รับการสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมศิลปะการวาดภาพด้วยสีน้ำ โดย ศิลปินวาดภาพจิตอาสา ผู้เขาชมงานจะได้สนุก เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมประดิษฐ์ประดอยของที่ระลึกด้วยฝีมือของตนเอง สำหรับผลิตผล ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่เกิดจากคุณูปการของโครงการหลวงต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ได้ส่งตรงจากดอยมามากกว่า 800 รายการ และปีนี้โครงการหลวงยังจัดมุมทดสอบผลิตผลใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัย เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ชิมและให้ความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาพันธุ์ และการส่งเสริมแก่เกษตรกร ผลิตผลใหม่เหล่านี้ ได้แก่ แตงกวามินิบอล พริกหวานรับประทานสด รวมทั้งผัก และผลไม้พระราชทานชนิดต่าง ๆร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์โครงการหลวงจากชาวดอย อิ่มอร่อยไปกับอาหารหลากหลายเมนู ดูนิทรรศการ ชมฐานเรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา ในงานโครงการหลวง 2567 วันที่ 1-10 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่
22 พฤศจิกายน 2567
จังหวัดเชียงใหม่ จัดงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2567 แห่สะเปาล้านนา สืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม
ค่ำวันนี้ (15 พ.ย. 67) ที่ลานประตูท่าแพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่จัดประกวดขบวนแห่สะเปาล้านนา ในงานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2567 เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนให้ยั่งยืนสืบไป โดยเริ่มเดินขบวนตั้งแต่ลานประตูท่าแพ ผ่านถนนท่าแพ ไปยังถนนไปรษณีย์ ถนนวิชยานนท์ มุ่งหน้าสู่สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ท่ามกลางนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ยืนริมสองฝั่งถนน เพื่อรอชมความงดงามของขบวนสะเปา โดยในค่ำคืนนี้มีหน่วยงานและชุมชนต่างๆ ประดิษฐ์ตกแต่งสะเปาส่งเข้าประกวด จำนวน 10 ขบวน ซึ่งขบวนแรกเป็นขบวนของเทศบาลนครเชียงใหม่ ถัดมาเป็นขบวนของโรงเรียนเทศบาลวัดเชียงยืนร่วมกับโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ, ชุมชนวัดศรีปิงเมือง, สมาคมกลองและศิลปะการแสดงล้านนา, สภาวัฒนธรรมอำเภอแม่ริม, โรงเรียนเทศบาลวัดเกตการาม, โรงเรียนเทศบาลวัดศรีสุพรรณ, โรงเรียนวัด ชุมชน ป่าแพ่ง - วังสิงห์คำ และโรงเรียนเทศบาลวัดพวกช้าง, โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย ร่วมกับ โรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกอง และโรงเรียนเทศบาลดอกเงิน และปิดท้ายด้วยขบวนจากวัดอุปคุต ร่วมกับชุมชนวัดหัวฝาย และโรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย ทั้งนี้ คำว่า “สะเปา” หมายถึงเรือสำเภาในภาษาพื้นเมือง เชื่อกันว่าการล่องสะเปาคือการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ โดยการประดิษฐ์สะเปาของชาวล้านนา จะใช้กาบกล้วย มะละกอ ไม้ไผ่ หรือกระดาษแก้วใสมาตกแต่งและประดับประดาด้วยดอกไม้ หรือใช้กระดาษสีตัดเป็นลวดลายต่างๆ ติดด้านข้างลำสะเปา นอกจากนี้ยังมีสิ่งของอื่นๆ ที่มักใส่ลงไปในสะเปาด้วย อาทิ ข้าวสุก กล้วย อ้อยควั่น ข้าวต้มจิ้ม น้ำตาล เกลือ ยาสูบ หมาก พลู ดอกไม้ ธูป เทียน และอื่นๆ เพราะเชื่อกันว่าผู้ล่วงลับที่ได้อุทิศส่วนกุศลหรือทำทานไปให้ จะนำสิ่งของเหล่านั้นไปใช้ในอีกภพหนึ่งได้
16 พฤศจิกายน 2567