MJU RADIO FM 95.50 MHz
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : วิทยุบริการสาธารณะ
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับมอบเงินสนับสนุนโครงการเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ชุบชีวีหลังน้ำลด จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำนวน 1,000,000 บาท โดยมี นายดรุฒ คำวิชิตธนาภา กรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 63) เป็นผู้แทนมอบ และ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จำนวน 500,000 บาท โดยมี นายวิทย์วศิน เรียนวัฒนา ผู้อำนวยการใหญ่(บริการเดินอากาศส่วนภูมิภาค) เป็นผู้แทนมอบ ณ ห้องประชุมกรรมการสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
.
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “จากเหตุการณ์เกิดอุทกภัยในภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดเชียงรายลงมา รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบของเหตุการณ์นี้ จึงควรมีกระบวนการฟื้นฟูหลังน้ำลด โดยการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในทุก ๆ พื้นที่อย่างเข้าถึงและเข้าใจ อันจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนลงได้ จึงได้จัดทำโครงการเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ชุบชีวีหลังน้ำลด ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมกัน ของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ โดยได้รับความร่วมมือ จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัท วิทยุการแห่งประเทศไทย จำกัด โดยเราจะจัดหาเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว ที่ปลูกง่ายใช้ช่วงเวลาสั้น ซึ่งมีทั้งเมล็ดพันธุ์ผักมาจากผลผลิตทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตลอดจนความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของศิษย์เก่า และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เตรียมแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ เมล็ดพันธุ์ผักเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในชีวิตประจำวัน รวมถึงการก่อให้เกิดรายได้อย่างรวดเร็ว ขอบคุณผู้มีส่วนร่วมสนับสนุนในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างสูง”
.
สำหรับการเตรียมแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ไปยังพื้นที่ประสบภัยหลังน้ำลด จะเริ่มแจกจ่ายในเฟสแรกประมาณเดือนตุลาคม 2567 โดยเริ่มจากพื้นที่ผู้ประสบภัยในจังหวัดเชียงราย โดยมีทีมงานของสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ร่วมกับ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ สำรวจผู้ได้รับผลกระทบและส่งมอบเมล็ดพันธุ์ให้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้เพาะปลูก เก็บเกี่ยวผลผลิต มีอาหาร มีรายได้ เพื่อดำรงชีวิตต่อไป
ปรับปรุงข้อมูล : 26/9/2567 14:35:33     ที่มา : MJU RADIO FM 95.50 MHz     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 119

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

เจ้าหน้าที่ Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) คณะวิทยาศาสตร์
ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 เวลา 9.00-11.30 น. ทาง ดร.สุภาภรณ์ รอดประดิษฐ์ นักวิชาการพืชสวน สังกัด สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้นำคณะเจ้าหน้าที่จาก Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) ณ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ โดยมี ผศ.ดร.ปวีณา ภูมิสุทธาผล เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมฝึกประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้แก่คณะผู้ศึกษาดูงาน
20 พฤศจิกายน 2567     |      53
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้รับโล่ Prime Minister Road Safety Awards ในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่องความปลอดภัยทางถนนครั้งที่ 16 “สานพลังเข้มข้น สร้างกลไกเข้มแข็ง เพื่อถนนไทยปลอดภัย”
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับรางวัล Prime Minister Road Safety Award ประเภทบุคคล จาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 16 “สานพลังเข้มข้น สร้างกลไกเข้มแข็ง เพื่อถนนไทยปลอดภัย” Road Safety Stronger Together ณ ศูนย์การประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่มเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
20 พฤศจิกายน 2567     |      99
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน)
ในวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานต้อนรับและร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี คุณชัยยศ ชุณห์วิจิตรา ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสินทรัพย์ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจ ทั้งนี้พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัย และการให้บริการวิชาการของบุคลากรซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาของทั้งสองฝ่าย เพื่อสร้างองค์ความรู้และสร้างขีดความสามารถการบูรณาการด้านวิจัยและแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมร่วมกัน สร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของแต่ละฝ่าย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ผลงานวิจัย องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา (Talent Mobility) ระหว่างทั้งสองฝ่าย
19 พฤศจิกายน 2567     |      45