วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศรีเงินยวง รองอธิการดี เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6/2567 และการประชุมสามัญ สออ. ประเทศไทย ครั้งที่ 3/2567 และเข้าร่วมพิธีมอบรางวัล “โครงการรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ สออ.ประเทศไทย” ประจำปี 2567 เพื่อติดตามการดำเนินงานของการประชุมที่ผ่านมา ร่วมหารือในประเด็นปัญหาต่าง ๆ พร้อมแลกเปลี่ยนความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อวงการอุดมศึกษาไทย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะประธาน สออ.ประเทศไทย และประธาน ทปอ. เป็นประธานการประชุม ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 อาคารเคเอกซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร
.
ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร ประธานคณะกรรมการโครงการรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ สออ.ประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “อดีต..ปัจจุบัน…อนาคต ธรรมาภิบาลในวงการอุดมศึกษาไทย” และมอบรางวัล “โครงการรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ สออ.ประเทศไทย ประจำปี 2567 (ASAIHL Thailand Outstanding Achievement Award 2024)” โดยมีผู้ได้รับรางวัล ดังนี้
- รางวัลอาจารย์ดีเด่น “ด้านการวิจัย” ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รางวัลอาจารย์ดีเด่น “ด้านการสอน” ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติธัช สุนทรวิภาต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รางวัลอาจารย์ดีเด่น “ด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคม” ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- รางวัลอาจารย์ดีเด่น “ด้านการสร้างเครือข่าย” ได้แก่ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ มหาวิทยาลัยมหิดล
- รางวัลอาจารย์ดีเด่น “ด้านนวัตกรรม” ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.มารินา เกตุทัต-คาร์นส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โครงการรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ สออ.ประเทศไทย (ASAIHL Thailand Outstanding Achievement Award)” จัดโดย สมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย (สออ.ประเทศไทย) เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้อาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย สออ.ประเทศไทย ได้ปฏิบัติงานตามพันธกิจของความเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาจนเกิดผลสำเร็จ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา และเพื่อยกย่อง ธำรงรักษาไว้ซึ่งเกียรติคุณแห่งวิชาชีพครู รวมทั้งเป็นตัวอย่างหรือต้นแบบให้แก่อาจารย์ และนักศึกษาในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จและผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ ตลอดจนถึงส่งเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจของอาจารย์ในการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงาน องค์กรสถาบันอุดมศึกษาภายนอก ทั้งในระดับชาติหรือนานาชาติ
ภายในงาน มจธ. ได้จัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ด้านการศึกษา Startup อาทิ เทคโนโลยี Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR), บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายทางชีวภาพจากแป้งเทอร์โมพลาสติกที่ขึ้นรูปด้วยเทคนิคเทอร์โมฟอร์มมิ่ง นิทรรศการด้าน Neuroscience, Carbon Neutrality, Startup, Fablab , โครงการ Techbite, ความร่วมมือกับ SME และผลงานของสถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI)