MJU RADIO FM 95.50 MHz
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : วิทยุบริการสาธารณะ

วันอังคารนที่ 22 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมอาคารแม่โจ้ 80 ปี รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี พบปะบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมีอาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดี กล่าวต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2567 พร้อมกับแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย ในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนรองอธิการบดี กำกับดูแล กำกับการบริหารงาน สั่งและปฎิบัติการแทนอธิการบดี ตามกรอบภาระงาน กำกับดูแลมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (ตามคำสั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ 1361/2567)

ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ได้นำเสนอนโยบายและแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัย (พ.ศ.2567-2571) แลกเปลี่ยนและรับฟังปัญหาการปฎิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยเน้นย้ำให้บุคลากรมองเป้าหมายเดียวกัน บูรณาการองค์ความรู้แต่ละสาขาวิชา สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และร่วมกันผลักดันให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มุ่งปฎิบัติงานตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้คือ การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการเกษตรสุขภาวะระดับนานาชาติต่อไป

พร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รักษาการแทนรองอธิการบดี/คณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พบปะบุคลากร พร้อมเสนอแนวคิดการปฎิบัติงาน กล่าวคือ ให้บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอก เพื่อดึงศักยภาพของแต่ละบุคคล ใช้กลยุทธิ์ในการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม ใส่ใจโครงสร้างพื้นฐานของทั้งบุคลากรและนักศึกษา ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการประชาสัมพันธ์ อันจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในการผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วย “วิชาการ-วิชาชีพ-วิชาชีวิต”

อย่างไรก็ดี รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ได้พบปะและให้กำลังใจบุคลากรในการขับเคลื่อนและพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร คือ “มีทัศนคติที่ดีในการปฎิบัติงาน ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในองค์กร ตลอดจนมองเป้าหมายข้างหน้าไปด้วยกัน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป”

ปรับปรุงข้อมูล : 22/10/2567 16:59:42     ที่มา : MJU RADIO FM 95.50 MHz     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 103

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

เจ้าหน้าที่ Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) คณะวิทยาศาสตร์
ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 เวลา 9.00-11.30 น. ทาง ดร.สุภาภรณ์ รอดประดิษฐ์ นักวิชาการพืชสวน สังกัด สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้นำคณะเจ้าหน้าที่จาก Seychelles Parks and Gardens Authority (SPGA) สาธารณรัฐเซเชลส์ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) ณ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพพืชสมัยใหม่ โดยมี ผศ.ดร.ปวีณา ภูมิสุทธาผล เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมฝึกประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้แก่คณะผู้ศึกษาดูงาน
20 พฤศจิกายน 2567     |      53
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้รับโล่ Prime Minister Road Safety Awards ในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่องความปลอดภัยทางถนนครั้งที่ 16 “สานพลังเข้มข้น สร้างกลไกเข้มแข็ง เพื่อถนนไทยปลอดภัย”
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับรางวัล Prime Minister Road Safety Award ประเภทบุคคล จาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 16 “สานพลังเข้มข้น สร้างกลไกเข้มแข็ง เพื่อถนนไทยปลอดภัย” Road Safety Stronger Together ณ ศูนย์การประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่มเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
20 พฤศจิกายน 2567     |      101
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน)
ในวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานต้อนรับและร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี คุณชัยยศ ชุณห์วิจิตรา ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสินทรัพย์ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนลงนามบันทึกความเข้าใจ ทั้งนี้พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัย และการให้บริการวิชาการของบุคลากรซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาของทั้งสองฝ่าย เพื่อสร้างองค์ความรู้และสร้างขีดความสามารถการบูรณาการด้านวิจัยและแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมร่วมกัน สร้างเครือข่ายและบูรณาการกิจกรรมร่วมกันตามพันธกิจของแต่ละฝ่าย พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ผลงานวิจัย องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา (Talent Mobility) ระหว่างทั้งสองฝ่าย
19 พฤศจิกายน 2567     |      45