MJU RADIO FM 95.50 MHz
สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ : วิทยุบริการสาธารณะ
วันนี้ (5 ต.ค. 67) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและเยี่ยมให้กำลังใจพี่น้องประชาชนที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมติดตามลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย
.
โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ได้นั่งเรือจากบริเวณเชิงสะพานภาค 5 ไปถวายถุงยังชีพให้แด่เจ้าอาวาสวัดป่าพร้าวนอก และลูกบ้าน บ้านป่าพร้าวนอก ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ และได้นั่งเรือไปตามหมู่บ้านป่าพร้าวนอก ผ่านไปยังถนนช้างคลาน อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เยี่ยมเยือนทักทายประชาชนที่ยังอาศัยอยู่ในบ้าน พร้อมกับได้มอบถุงยังชีพ น้ำดื่ม และอาหารให้กับประชาชน โดยในพื้นที่ดังกล่าวมีระดับน้ำค่อนข้างสูงกว่า 1.8 เมตร และน้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว จึงต้องใช้วิธีการมัดสิ่งของด้วยเชือกแล้วส่งให้ชาวบ้าน
.
ซึ่งชาวบ้านที่มีบ้านสองชั้นยังคงอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว โดยอพยพขึ้นไปพักอาศัยอยู่บนชั้นสองของบ้าน ส่วนบ้านเดี่ยวหนึ่งชั้นส่วนใหญ่ชาวบ้านจะอพยพออกไปพักอาศัยในพื้นที่ที่ปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว การใช้ชีวิตยังคงเป็นไปด้วยความยากลำบากแต่ประชาชนยังคงมีรอยยิ้ม มีกำลังใจที่เข้มแข็งที่จะต่อสู้กับสภาวะวิกฤตนี้
.
ภายหลังจากลงพื้นที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่และทีมเชียงใหม่ทุกหน่วยงาน มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์เป็นอย่างดี ซึ่งจากการลงพื้นที่ ได้สอบถามกับชาวบ้านว่าสามารถอยู่ได้ โดยมีทางจังหวัดและเทศบาลนครเชียงใหม่คอยส่งอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของจำเป็น เข้ามาให้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งคาดว่ามวลน้ำที่ได้ทะลักเข้ามาท่วมบ้านเรือนของประชาชนเมื่อคืนที่ผ่านมาจะเป็นมวลน้ำก้อนสุดท้ายในช่วงฤดูฝนนี้แล้ว โดยมวลน้ำทั้งหมดที่ได้ไหลผ่านจังหวัดเชียงใหม่จะสิ้นสุดยังเขื่อนภูมิพล แต่เนื่องด้วยขณะนี้มีน้ำจำนวนมากทำให้การระบายน้ำอาจจะมีความล่าช้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ระดมสรรพกำลังจากทุกหน่วยงาน ทั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว คาดว่าอีก 3-5 วันสถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายลง ในส่วนการดูแลประชาชนมั่นใจว่าจังหวัดเชียงใหม่และทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน จะดูแลประชาชนอย่างเต็มที่
.
////////////////
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่
5 ตุลาคม 2567
ปรับปรุงข้อมูล : 5/10/2567 20:13:26     ที่มา : MJU RADIO FM 95.50 MHz     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 33

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

มหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 “บทบาทคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ Net Zero 2065” ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่
การประชุมสัมมนาฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมระดมความคิดของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยจาก 148 แห่ง ทั่วประเทศ ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zeroผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิด Green University รวมถึงการปรับตัวสานกลยุทธ์ธุรกิจ สู่ Net  Zeroเพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้าและเงื่อนไขตลาดทุนโลก ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมทั้ง มอบนโยบายที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายพิเศษ และร่วมเวทีเสวนา ในประเด็นที่น่าสนใจ  ได้แก่ -  เรื่อง“มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับการขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ Net Zero”, ผสานกลยุทธ์การวิจัย การเรียนการสอนและบริหารจัดการวิชาการเข้ากับแนวคิดGreen Universityการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล  ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  - เรื่อง “Climate Changeวิกฤตของโลก และทางออกของเรา” ความรู้และงานวิจัยเกี่ยวกับวิกฤติโลกร้อน ความร่วมมือระหว่างประเทศ และนวัตกรรมที่จะนำพาโลกสู่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการมุ่งสู่Net Zeroโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ (UNISERV)และหัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - เรื่อง “ทศวรรษแห่งการปรับตัว สานกลยุทธ์ธุรกิจสู่ Net Zero” กลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่เพื่อรับมือกับข้อกำหนดทางการค้า และเงื่อนไขตลาดทุนโลกและมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในทศวรรษที่ผ่านมาและในอนาคต โดยนายธีรพงศ์  จันศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)การเสวนา เรื่อง“บทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยกับการพัฒนามหาวิทยาลัย”โดยผู้แทนคณะกรรมการส่งเสริมจากทุกกลุ่มสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนานอกจากนั้น  จะมีการเยี่ยมชมศึกษาดูงานโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย  ฟาร์มมหาวิทยาลัย โรงเรือนไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์  การผลิตกัญชาอินทรีย์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์  ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และเกษตรอัจฉริยะ Smart Fisheryพร้อมทั้งเยี่ยมชมศึกษาดูงาน  บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)  บริษัท ปลูกผักเพระรักแม่โ จำกัด (มหาชน) (โอ้กะจู๋) และ บริษัท กรีนไดมอนด์ จำกัด (บุญสมฟาร์มสาหร่ายเกลียวทอง)  ซึ่งเป็นภาคีภาคธุรกิจที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้  รวมถึงการศึกษาดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ล้านนา และด้านหัตถกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่น  ดร.วรพงศ์ นันทาภิวัฒน์ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า“ขอเชิญชวนคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทุกท่านเข้าร่วมการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เพราะคณะกรรมการส่งเสริมฯ คือผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจและการศึกษา เราจะได้มีส่วนร่วมในการหารือและหาข้อแนะนำในการที่จะทำให้ประเทศเราบรรลุการเป็นNet Zeroในปี2065ได้” การประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 นอกจากเผยแพร่ภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัย และจังหวัดเชียงใหม่ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจและชุมชนในทุกมิติต่อไป
1 พฤศจิกายน 2567     |      169
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจทางวิชาการด้านสหกิจศึกษาและการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน กับ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีและต้อนรับ นางสาววราพร ละมูลตรี ผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) และคณะ ณ ห้องประชุมพวงเสด สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ สนับสนุน ส่งเสริมด้านการจัดการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน สนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความรู้ ทักษะร่วมกันในการฝึกประสบการณ์ภายใต้การถ่ายทอดความรู้จากสถานการณ์จริง ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการอย่างเป็นระบบ และเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรหลักในการรับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพและฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา
31 ตุลาคม 2567     |      113
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”
วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่ ลานอนุสาวรีย์ฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้   ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในงาน “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้แต่ละรุ่น และนักศึกษา ร่วมรำลึกอธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้ ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน”ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1 อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้ เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัยศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ท่านเป็นนักประชาธิปไตยตัวอย่าง เป็นผู้มีเมตตาธรรม เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนางานใหม่ๆเสมอ เป็นนักพัฒนาชนบท เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม เป็นครู”ที่ประเสริฐ จากการทำงานหนักและผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ชีวิตท่านแข็งแกร่ง ทรหดอดทน ไม่ท้อถอยและยอมแพ้ต่อปัญหา การดำเนินชีวิตที่ผ่านอุปสรรคมาได้ทำให้เกิดปรัชญาความจริงของชีวิต  ท่านได้ตระหนักถึงการเรียนและฝึกอบรมนักเรียนเกษตรต้องให้มีความอดทน ไม่ท้อถอย จึงจะสู้งานได้ทุกอย่างเป็นการหล่อหลอมนิสัยให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเผชิญกับอุปสรรคและสามารถแก้ปัญหาลุล่วงได้ต่อไปจึงนับเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาแม่โจ้สู่มิติใหม่ นักเรียนต้องมีความพร้อมและต้องการเรียนเกษตรจริง ๆ ซึ่งท่านได้กล่าวแสดงความยินดีต่อนักศึกษาที่ผ่านการทดสอบว่าการเรียนเกษตรที่แม่โจ้นี้ ต้องฝึกความทรหดสู้งานทุกอย่างได้ ไม่ท้อถอย เพื่อจะได้เป็นลูกแม่โจ้ที่อดทน เข้มแข็ง ไม่กลัวงานหนัก งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ให้ที่แม่โจ้” ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต  บุญศรีวังซ้ายได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่  30 ตุลาคม 2527  บรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้กำหนดวันที่ 30 ตุลาคม ให้เป็น “วันวิภาต บุญศรี วังซ้าย” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้เอาชนะอุปสรรค และปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต เป็นคนต้นแบบลูกแม่โจ้ ตามปรัชญางานหนักไม่เคยฆ่าคน”อันเป็นคติพจน์ประจำใจของ ลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบัน
30 ตุลาคม 2567     |      130
ภาคเอกชนสนใจปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ของแม่โจ้ ภายใต้การวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจ
     รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในเรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ และเป็นผู้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ในรูปแบบต่าง ๆ จนได้เป็นปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานตามหลักของกรมวิชาการเกษตร และได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ทำให้ภาคเอกชน โดยบริษัท เวิร์ล ทรีส์ แพลนท์ จำกัด ให้ความสนใจสั่งซื้อปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อต่อยอดทางธุรกิจของทางบริษัทฯ ต่อไป     อนึ่ง ทางบริษัทฯและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการทำบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ (MOU) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2566 เพื่อสั่งซื้อปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์จำนวนมาก โดยจะมีศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ผลิต และจัดส่งให้ตามข้อตกลง ความร่วมมือกับทางบริษัทฯ ซึ่งนับเป็นการนำผลผลิตนวัตกรรม จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป
29 ตุลาคม 2567     |      68